Page 36 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 36
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
๒) กลไกการเยียวยาควรมีการมอบอ านาจจากส่วนกลางไปให้ส่วนภูมิภาค
ด าเนินการเพื่อให้การเยียวยามีความรวดเร็ว โดยส่วนกลางท าหน้าที่ก ากับดูแลให้การเยียวยาทันต่อ
สถานการณ์และมีการทบทวนการด าเนินการตามกลไกต่าง ๆ เป็นระยะ
๓) กลไกกลางต้องก าหนดมาตรการในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิด
เหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะดังกล่าวซ้ าอีก โดยต้องมีการพัฒนาท าการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
สังเคราะห์ และมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานที่ให้การเยียวยาจะต้องมีมาตรการในเชิงป้องกัน
ไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวซ้ าอีกตามหลักพัฒนาวงจรความเสี่ยง (Risk Cycle Management) และพัฒนาดีขึ้น
อย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement – CQI) และยั่งยืน (Sustained Continuous
Development – SCD)
๔) พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ ไม่ได้บัญญัติให้เจ้าหน้าที่
ในกระบวนการยุติธรรมหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งสิทธิแก่ผู้เสียหาย ท าให้ผู้เสียหายอันเกิดจากการ
ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือกรณีได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งมีสิทธิขอรับความ
๓๐
ช่วยเหลือภายใน ๒ ปีนับแต่รู้ถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรมฯ
อาจไม่ได้รับการเยียวยาต่างจากพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จ าเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ก าหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เสียหายหรือทายาท
ซึ่งได้รับความเสียหายที่มาร้องทุกข์ทราบถึงสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
๔.๒ รูปแบบและวิธีการเยียวยาที่เหมาะสม เพียงพอและไม่ล่าช้า
๔.๒.๑ รูปแบบการเยียวยาที่เหมาะสม
ที่ผ่านมา ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะเยียวยา
ผู้เสียหายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบของการจ่ายค่าชดเชยด้านการเงินหรือการจ่ายค่าสินไหม
ทดแทน (compensation) ในขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเห็นว่า รัฐภาคีมีพันธกรณีที่จ าเป็นต้องค านึงถึงการเยียวยาในรูปแบบอื่น ๆ
ที่เหมาะสมด้วย ทั้งการท าให้กลับคืนสู่สภาพเดิม การฟื้นฟู การท าให้พอใจ และการประกันว่าจะไม่เกิด
การละเมิดซ้ าอีก ทั้งนี้ หลักการพื้นฐานและแนวทางว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและชดใช้ความเสียหายฯ ก็ได้
ให้แนวทางในท านองเดียวกันว่า การเยียวยาความเสียหายนั้นต้องมีความเหมาะสม เพียงพอกับความ
๓๐ ข้อ ๖ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือ
ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยพระราชบัญญัติกองทุน
ยุติธรรมฯ ให้การเยียวยาบางกรณีที่พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ไม่ได้ให้การเยียวยา เช่น จ าเลยที่ถูกคุมขัง
ตามค าพิพากษาเกินก าหนด จ าเลยที่ถูกคุมขังในระหว่างสอบสวน เป็นต้น
๓๒