Page 33 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 33
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
reparation for harm suffered) และการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดและกลไกการชดใช้ความ
เสียหาย (access to relevant information concerning violations and reparation mechanisms)
(ข้อ ๑๑) โดยเหยื่อควรได้รับการชดใช้ความเสียหายอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิผล (with full and
effective) ตามที่เหมาะสมและได้สัดส่วนกับความรุนแรงของการละเมิดและสภาวการณ์แวดล้อมของแต่ละ
กรณี ซึ่งรวมถึงรูปแบบต่อไปนี้ คือ การกลับคืนสู่สภาพเดิม (restitution) การจ่ายค่าสินไหมทดแทน
(compensation) การฟื้นฟู (rehabilitation) การท าให้พอใจ (satisfaction) และการประกันว่าจะไม่เกิด
การละเมิดซ้ า (guarantees of non-repetition) (ข้อ ๑๘) การกลับคืนสู่สภาพเดิม เช่น การกลับคืนสู่การ
จ้างงาน การคืนทรัพย์สิน เป็นต้น (ข้อ ๑๙) การฟื้นฟู เช่น การฟื้นฟูทางกฎหมายผ่านการแก้ไขประวัติ
๒๖
อาชญากรรม หรือการท าให้การพิจารณาลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ การท าให้พอใจ เช่น
การขอโทษ รวมถึงการยอมรับต่อสาธารณะถึงข้อเท็จจริงและการยอมรับ ความรับผิด เป็นต้น ตามข้อ ๒๒
การประกันว่าจะไม่เกิดการละเมิดซ้ า เช่น การจัดให้มีการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย
มนุษยธรรมระหว่างประเทศ เป็นต้น ตามข้อ ๒๓ และรัฐควรพัฒนาวิธีการแจ้งสิทธิและวิธีการเยียวยา
รวมทั้งเหยื่อและผู้แทนของเหยื่อควรมีสิทธิขอและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและเงื่อนไขที่ท าให้เกิดการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามข้อ ๒๔
๔. ความเห็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาการเยียวยาของรัฐในภาพรวม โดยได้
พิจารณาทบทวนกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา๒๗ หลักการด้านสิทธิมนุษยชน
ความเห็นของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า โดยที่รัฐมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย รักษาความ
ปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ตลอดจนประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้กับบุคคลในสังคม ดังนั้น
ในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องจากนโยบายของรัฐหรือจากหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐ ซึ่งกระท าโดยจงใจ ละเว้น ประมาทเลินเล่อ มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุใด ๆ ก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
ที่ก าหนดไว้ในกฎหมาย และพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น รัฐจึงมี
หน้าที่ให้การเยียวยาแก่ผู้เสียหายหรือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งทายาทของบุคคลดังกล่าว และรวมถึง
กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกิจการหรือการกระท าของเอกชนที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการออก
นโยบายและการควบคุม ก ากับ ดูแล หรือเป็นผู้ให้สิทธิสัมปทานดังกล่าว หรือเป็นผู้ออกใบอนุญาต
แก่เอกชน แล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐกระท าการโดยจงใจ ประมาทเลินเล่อ ละเลยในการบริหารจัดการ หรือหย่อน
๒๖ จากสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและการชดใช้ความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และ
กว้างขวาง (น.๑๔๘), โดย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล, ๒๕๔๙, กรุงเทพฯ: ส านักงานภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก
๒๗ ข้อมูลปรากฏตามตารางท้ายข้อเสนอแนะ
๒๙