Page 31 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 31
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ปฏิญญาสากลฯ ได้รับรองสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการเยียวยา
อย่างได้ผลโดยศาล เนื่องจากการกระท าใด ๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายตามข้อ ๘
๒) พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการเยียวยา
สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับที่ประเทศไทยเป็นภาคี
ก าหนดให้รัฐต้องประกันสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการเยียวยาเมื่อถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ กติกา
๒๐
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ตามข้อ ๒ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
๒๑
การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ตามข้อ ๖ อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และ
๒๒
การประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ ายีศักดิ์ศรี ตามข้อที่ ๑๔ อนุสัญญา
๒๓
ว่าด้วยสิทธิเด็ก ตามข้อ ๓๙
๓) ความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ ากติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมืองเห็นว่า รัฐต้องท าให้การเยียวยามีประสิทธิผลและเหมาะสมโดยค านึงถึง
ประเภทของบุคคลที่ได้รับความเสียหาย ต้องมีกระบวนการทางตุลาการและกลไกทางปกครองที่เหมาะสม
๒๐
รัฐภาคีประกันว่า บุคคลใดที่สิทธิหรือเสรีภาพของตนซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้ถูกละเมิด ต้องได้รับการเยียวยา
อย่างเป็นผลจริงจัง โดยไม่ต้องค านึงว่าการละเมิดนั้นจะได้กระท าโดยบุคคลผู้ปฎิบัติการตามหน้าที่ และบุคคลที่เรียกร้อง
การเยียวยาดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาจากฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติที่มีอ านาจหรือจาก
หน่วยงานอื่นที่มีอ านาจตามที่ก าหนดไว้โดยกฎหมายของรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอ านาจต้องบังคับให้การเยียวยานั้นเป็นผล
๒๑ รัฐภาคีจะรับประกันต่อทุกคนในเขตอาณาที่จะได้รับการคุ้มครองและการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ โดยผ่าน
ศาลระดับชาติและองค์กรของรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการกระท าใดๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และสิทธิในอันที่
จะขอจากศาลในการทดแทนอย่างยุติธรรมและพอเพียงและการชดใช้ความเสียหายอันเป็นผลมาจากการเลือกปฏิบัตินั้น
๒๒
รัฐภาคีแต่ละรัฐประกันในระบบกฎหมายว่า ผู้ถูกท าร้ายจากการกระท าการทรมานได้รับการชดใช้ทดแทนและ
มีสิทธิซึ่งสามารถบังคับคดีได้ที่จะได้รับสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ รวมทั้งวิถีทางที่จะได้รับการบ าบัดฟื้นฟู
อย่างเต็มรูปแบบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ถูกท าร้ายเสียชีวิตอันเป็นผลจากการกระท าการทรมาน
ให้ผู้อยู่ในอุปการะของบุคคลนั้นมีสิทธิที่จะได้รับสินไหมทดแทน
๒๓
รัฐภาคีจะด าเนินมาตรการที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจ และการกลับคืนสู่สังคม
ของเด็กที่ได้รับเคราะห์จากการละเลยในรูปแบบใดๆ การแสวงหาประโยชน์การกระท าอันมิชอบ การทรมาน หรือการ
ลงโทษ หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ าช้า หรือการพิพาทกันด้วยอาวุธ การฟื้นฟูหรือการกลับคืนสู่สังคม
จะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพการเคารพตนเองและศักดิ์ศรีของเด็ก
๒๗