Page 41 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 41
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
(๓) ให้มีกลไกวิเคราะห์สาเหตุแห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนและก าหนด
มาตรการในเชิงป้องกัน อันเป็นการประกันว่าจะไม่เกิดการละเมิดซ้ าอีก ตามความเห็นในข้อ ๔.๑.๓ (๓)
ของรายงานนี้
(๔) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งสิทธิ หรือมีกลไกอื่นเพิ่มเติมเพื่อแจ้งสิทธิในการ
เยียวยาตามกฎหมายต่าง ๆ แก่ผู้เสียหาย ท าให้ผู้เสียหายเข้าถึงการเยียวยาได้โดยง่ายและทั่วถึง
ตามความเห็นในข้อ ๔.๑.๓ (๔) ของข้อเสนอแนะนี้
(๕) ให้มีกระบวนการหรือกลไกเฉพาะเพื่อทบทวนผลการพิจารณาให้การ
เยียวยา ทั้งอัตราการเยียวยาด้านการเงินหรือรูปแบบการเยียวยาให้เหมาะสม รวมทั้งทบทวนการได้รับการ
เยียวยาเมื่อมีข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ตามแนวทางของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามความเห็นในข้อ ๔.๒.๑ และ ๔.๒.๒ ของข้อเสนอแนะนี้
๕.๑.๕ คณะรัฐมนตรี โดยส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวง
สาธารณสุข ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรก าหนดให้มีระยะเวลาในการ
เยียวยาที่เหมาะสม และมีการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างกว้างขวางเพื่อให้ประชาชนทราบถึง
สิทธิดังกล่าว รวมทั้งบริหารจัดการเชิงรุกให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิการเยียวยาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และการเยียวยาด้านมนุษยธรรมได้โดยสะดวกและรวดเร็ว ตามความเห็นในข้อ ๔.๒.๓ ของข้อเสนอแนะนี้
๕.๒ ข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค าสั่ง
๕.๒.๑ รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม และส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา ควรนิยามความหมายของผู้เสียหายในร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การทรมานและการกระท าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ให้รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่สูญหาย
ครอบครัวหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลโดยตรงของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การเยียวยาครอบคลุม
ผู้ได้รับความเสียหายตามความเป็นจริงและไม่ต้องรอให้ระยะเวลาที่ก าหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ผ่านพ้นไปก่อน ตามความเห็นในข้อ ๔.๑.๒ (๑) ของข้อเสนอแนะนี้
๕.๒.๒ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ หรือพระราชบัญญัติ
กองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง โดยให้จ าเลยในคดีที่ศาลมีค าพิพากษายกฟ้อง
ได้รับการเยียวยาทุกกรณี ตามความเห็นในข้อ ๔.๑.๒ (๒) ของข้อเสนอแนะนี้
๓๗