Page 40 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 40
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
( ๒) การเยียวยานอกเหนือจากด้านการเงิน เช่น การฟื้นฟูด้านจิตใจ การท าให้
พอใจ การด ารงชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น การกลับคืนสู่การจ้างงาน การไม่ให้เกิดการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเช่นนั้นซ้ าอีก การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม และการยุติการยกเว้นโทษ เป็นต้น
เพื่อเยียวยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นความเสียหายเนื่องจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เช่น กรณีที่เกิดกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่น่าเชื่อได้ว่า หายสาบสูญโดยถูกบังคับ หรือผู้ที่ได้รับ
ความเสียหายในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการด าเนินนโยบาย หรือโครงการขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐ
และภาคเอกชน เป็นต้น ในกรณีดังกล่าวการเยียวยาต้องพิจารณาถึงรูปแบบพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจาก
ค่าสินไหมทดแทนที่เป็นตัวเงิน เช่น การได้รับทราบข้อมูลข่าวสารความจริงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การคุ้มครองพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดหาที่ดินท ากินหรือ
ที่อยู่อาศัยและจัดหางานหรืออาชีพที่มีลักษณะใกล้เคียงแบบเดิมให้แก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับ
ผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากโครงการตามนโยบายรัฐ หรือบางกรณีจะต้องท าการฟื้นฟู
สิ่งแวดล้อมให้คืนสู่สภาพเดิมด้วยวิธีการทางเทคนิคที่ถูกต้อง การจัดให้มีนโยบายเพื่อฟื้นฟูชุมชน เป็นต้น
ซึ่งการเยียวยาในรูปแบบต่าง ๆ ในหลาย ๆ มิติก็เพื่อให้มีการเยียวยาอย่างเหมาะสมเพียงพอและได้สัดส่วน
กับความเสียหายที่เกิดขึ้นตามแต่กรณีอย่างหลากหลาย ตามความเห็นในข้อเสนอแนะนี้
๕.๑.๔ คณะรัฐมนตรี โดยส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวง
สาธารณสุข ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณา ดังนี้
(๑) ให้ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สามารถท าหน้าที่
เชื่อมหรือประสานกับหน่วยงานอื่น ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ เป็นหน่วยงานหลักในการ
ดูแลเรื่องการเยียวยาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นในภาพรวม ตามความเห็นในข้อ
๔.๑.๓ (๑) ของข้อเสนอแนะนี้
(๒) ให้มีกลไกหรือศูนย์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา
ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งข้อเท็จจริงและกฎหมาย โดยข้อมูลต้องทันสมัยและทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยง
ข้อมูลกันได้ทั้งระบบ รวมทั้งก าหนดให้มีกลไกกระจายอ านาจไปในระดับกรม และส่วนภูมิภาค เช่น กรณี
เยียวยาความเสียหายในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งมีกลไกเป็นการเฉพาะ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการเยียวยา
ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การด าเนินการตามกลไกต่าง ๆ ควรให้มีการทบทวนเป็นระยะ
อาทิ ทุกห้าปี เพื่อให้กลไกการเยียวยามีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ตามความเห็นในข้อ ๔.๑.๓ (๑) และ
๔.๑.๓ (๒) ของข้อเสนอแนะนี้
๓๖