Page 34 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 34
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ประสิทธิภาพในการป้องกัน ควบคุม ตรวจสอบกิจการของเอกชนดังกล่าว จนก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนหรือเกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม เช่น อุบัติเหตุความเสียหายซึ่งเกิดขึ้น
ในเขตพื้นที่ที่รัฐให้สัมปทานแก่เอกชน หรือกิจการของเอกชนที่รัฐได้เข้าไปร่วมลงทุนด้วย หรือนโยบายของ
รัฐที่มอบให้เอกชนเข้าด าเนินการ ซึ่งรูปแบบการเยียวยาต้องเหมาะสมกับความเสียหายที่ได้รับ ส าหรับ
ในบางกรณีแม้ความเสียหายเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไม่ได้เกิดจากการกระท าโดยตรงของรัฐ
รัฐก็ยังพึงมีหน้าที่ให้การเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งสัดส่วนการเยียวยาด้านการเงินอาจมีความแตกต่าง
กันได้แล้วแต่กรณี
อย่างไรก็ตาม แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะตระหนักว่ารัฐให้ความส าคัญกับ
การเยียวยา โดยมีกฎหมายที่รองรับสิทธิในการเยียวยาหลายฉบับ แต่การเยียวยาของรัฐยังมีสาระ และ
ปัญหาส าคัญที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พันธกรณีระหว่างประเทศ ด้านสิทธิ
มนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และหลักการพื้นฐานและแนวทางว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและ
ชดใช้ความเสียหายส าหรับเหยื่อฯ ที่ควรพิจารณา ดังนี้
๔.๑ การเข้าถึงการเยียวยาอย่างเท่าเทียม ครอบคลุมและมีประสิทธิผล
สิทธิการเข้าถึงการเยียวยาของผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการส าคัญตาม
หลักการพื้นฐานและแนวคิดตามกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทย
ควรด าเนินการให้บรรลุถึงหลักการดังกล่าว โดยการเยียวยาต้องมีความเท่าเทียม ครอบคลุม และ
มีประสิทธิผล ซึ่งมีประเด็นความเห็นที่ควรพิจารณา ดังนี้
๔.๑.๑ ความแตกต่างของสัดส่วนการเยียวยาด้านการเงิน
โดยที่สัดส่วนการเยียวยาด้านการเงินในแต่ละมิติตามฐานกฎหมายหรือ
มติคณะรัฐมนตรีที่แตกต่างกัน และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่แตกต่างกันทั้งที่บางกรณีอยู่ในมิติหรือ
สภาพที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเดียวกัน เช่น การประเมินระดับของความพิการหรือทุพพลภาพ
ที่แตกต่างกัน มีผลท าให้สัดส่วนการเยียวยาด้านการเงินมีความแตกต่าง และไม่เท่าเทียมกันเกิดความเหลื่อมล้ า
หรือกรณีที่มติคณะรัฐมนตรีก าหนดให้เยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากความไม่สงบทางการเมืองแตกต่าง
กันทั้งที่ความเสียหายเกิดจากเหตุอย่างเดียวกัน เป็นต้น จึงไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอกัน
ในกฎหมาย และการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ตามตารางเปรียบเทียบภาคผนวก
ท้ายข้อเสนอแนะนี้
อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการเยียวยาด้านการเงินอาจแตกต่างกันระหว่าง
การเยียวยาซึ่งเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเนื่องจากนโยบายของรัฐหรือจากหน่วยงานของรัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐกับการเยียวยาที่ไม่ได้เกิดจากกรณีดังกล่าวแต่รัฐให้การเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม
๓๐