Page 39 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 39
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ครอบคลุมทายาท ตลอดจนครอบครัวของผู้เสียหายหรือผู้ที่ผู้เสียหายให้การช่วยเหลือหรือดูแล
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และให้รวมถึงกรณีการเยียวยาด้านมนุษยธรรมด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณี
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคีและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามาตรฐานที่ก าหนดมีความเหมาะสม และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องสามารถน าไปปฏิบัติได้ ในระยะแรก จึงอาจพิจารณาก าหนดเป็นระเบียบ และเมื่อน าไปปฏิบัติ
ระยะหนึ่งแล้วอาจมีการพัฒนาปรับปรุง เมื่อเห็นว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมแล้วก็สามารถ
ออกเป็นพระราชบัญญัติในภายหลัง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ก าหนดควรให้มีการทบทวนเป็นระยะ
อาทิ ทุกห้าปี เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความเห็นในข้อ ๔.๑.๑ และ ๔.๑.๒
ของข้อเสนอแนะนี้
๕.๑.๒ คณะรัฐมนตรี โดยส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวง
สาธารณสุข ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาให้มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) หลักเกณฑ์กลางในเรื่องความทุพพลภาพหรือระดับความพิการหรือ
อาการบาดเจ็บ เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาอย่างเท่าเทียมกันในกรณีที่อาการบาดเจ็บ
มีความรุนแรงในลักษณะเดียวกัน ตามความเห็นในข้อ ๔.๒.๒ ของข้อเสนอแนะนี้
(๒) กรณีที่ยังไม่ได้ก าหนดหลักเกณฑ์กลางในเรื่องความทุพพลภาพหรือ
ระดับความพิการหรืออาการบาดเจ็บควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เช่น
พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติหรือการ
ปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้น ให้มีหลักเกณฑ์หรือแนวทางการพิจารณาเรื่องความทุพพลภาพ หรือระดับความพิการ
หรืออาการบาดเจ็บดังกล่าวไปในทางเดียวกันหรือเหมือนกัน ตามความเห็นในข้อ ๔.๒.๒ ของข้อเสนอแนะนี้
๕.๑.๓ คณะรัฐมนตรี โดยส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวง
สาธารณสุข ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาให้มีรูปแบบการ
เยียวยาที่หลากหลาย ดังนี้
(๑) การเยียวยาด้านการเงิน โดยสัดส่วนการเยียวยาด้านการเงินอาจแตกต่าง
กันระหว่างการเยียวยาซึ่งเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเนื่องจากนโยบายของรัฐหรือจากหน่วยงาน
ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับการเยียวยาที่ไม่ได้เกิดจากกรณีดังกล่าวแต่รัฐให้การเยียวยาตามหลัก
มนุษยธรรม อาทิ กรณีภัยพิบัติธรรมชาติ แม้ความเสียหายจะมีความรุนแรงเท่าเทียมกันก็ตาม
ตามความเห็นในข้อ ๔.๑.๑ ของข้อเสนอแนะนี้
๓๕