Page 38 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 38

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐


                                    ๔.๒.๓ การเยียวยาที่ไม่ล่าช้า

                                            การเยียวยาที่มีความล่าช้าเท่ากับผู้เสียหายไม่ได้รับสิทธิในการเยียวยา ซึ่งที่

                  ผ่านมาการเยียวยาผู้เสียหายเกิดความล่าช้าจากสาเหตุต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมา รัฐจึงควรเร่งแก้ไขเพื่อให้
                  สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ ตามข้อ ๑๑ หลักการพื้นฐานและ

                  แนวทางว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและชดใช้ความเสียหายฯ ขอให้รัฐมีการก าหนดระยะเวลาการ
                  เยียวยาในเวลาที่เหมาะสมด้วย


                  ๕. ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและข้อเสนอในการ
                  แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย


                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นควรมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการ
                  ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ

                  ค าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ (๓) ดังนี้


                                ๕.๑ ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                                     ๕.๑.๑ คณะรัฐมนตรี โดยส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง

                  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวง
                  สาธารณสุข ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันพิจารณาก าหนดให้มี

                  หลักเกณฑ์กลางในการเยียวยาความเสียหายเพื่อให้เกิดมาตรฐานที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

                                      หลักเกณฑ์กลางดังกล่าวควรครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ได้รับความเสียหาย

                  ทุกประเภท ทุกกลุ่มจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับรัฐโดยตรงหรือโดยอ้อม

                  หรือจากการกระท าของเอกชนที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายของรัฐ หรือจากการได้รับสัมปทาน หรือการได้รับ
                  อนุญาตจากรัฐหรือได้รับมอบหมายจากรัฐ ส่วนการเยียวยานั้น นอกจากเยียวยาผู้เสียหายแล้วจะต้อง







                          (๒) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาครั้ง
                  ก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
                          (๓) เจ้าหน้าที่ไม่มีอ านาจที่จะท าค าสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
                          (๔) ถ้าค าสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย
                  นั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระส าคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
                         การยื่นค าขอตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระท าได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณา
                  ครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น
                         การยื่นค าขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระท าภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้




                                                            ๓๔
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43