Page 35 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 35

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐


                                    ๔.๑.๒ ความครอบคลุมในการเยียวยา

                                            ปัจจุบันการเยียวยาความเสียหายยังครอบคลุมผู้เสียหายไม่ครบ อาทิ

                                              ๑) กรณีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกสังหารจากการปฏิบัติงาน หรือเชื่อว่า

                  สูญหายโดยถูกบังคับ ครอบครัวประสบปัญหาในการได้รับการเยียวยาเนื่องจากขาดพยานหลักฐานว่าเป็น

                  บุคคลสูญหาย โดยการเยียวยาต้องรอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุคคลสาบสูญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
                  พาณิชย์ มาตรา ๖๑ ซึ่งต้องรอให้พ้นระยะเวลาห้าปีหรือสองปีแล้วแต่กรณีไปก่อนการเยียวยาที่มีความล่าช้า

                  มากเกินไปจึงเท่ากับไม่ได้รับการเยียวยา

                                              ๒) ค าพิพากษาของศาลมักจะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าจ าเลยมิได้เป็น

                  ผู้กระท าความผิดหรือการกระท าของจ าเลยไม่เป็นความผิด จึงอาจท าให้จ าเลยไม่ได้รับการเยียวยาตาม
                  พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และ

                  เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการ
                  ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจ าเลยอาจไม่ได้รับการเยียวยาตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘

                        ๒๘
                  เช่นกัน  จึงควรแก้ไขกฎหมายให้จ าเลยในคดีที่ศาลมีค าพิพากษายกฟ้องได้รับการเยียวยาในทุกกรณี
                                    ๔.๑.๓ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและกลไกการเยียวยา


                                                         ๑) โดยที่มีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาหลาย
                  ฉบับ และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน แต่ขาดการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

                  ท าให้การเข้าถึงสิทธิและวิธีการเยียวยาของผู้เสียหายเป็นไปได้ยาก เกิดกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับข้อมูล

                  ข่าวสารท าให้เสียสิทธิประโยชน์ในการเยียวยา ขาดความสะดวกรวดเร็ว เกิดความไม่เท่าเทียมกัน รวมถึงการ
                                                                                               ๒๙
                  ที่รัฐขาดข้อมูลส าคัญที่เพียงพอเพื่อพัฒนาวิธีการและกลไกในการเข้าถึงสิทธิและวิธีการเยียวยา












                         ๒๘  ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิด
                  สิทธิมนุษยชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๕๙
                         ข้อ ๑๑ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ คณะอนุกรรมการต้องค านึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
                          (๑) พฤติกรรม และข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
                          (๒) ฐานะของผู้จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
                          (๓) โอกาสที่ผู้จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับความช่วยเหลือ หรือบรรเทาความเสียหาย
                  ตามกฎหมายอื่น
                         ๒๙  ข้อ ๒๔ ของหลักการพื้นฐานและแนวทางว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและชดใช้ความเสียหายฯ




                                                            ๓๑
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40