Page 30 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 30
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
จัดท าขึ้น ยังไม่มีหลักเกณฑ์ใดที่จะถือได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์กลางที่เป็นแนวทางส าหรับแพทย์ผู้ออกใบรับรอง
และหน่วยงานที่ให้การเยียวยา ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการได้รับการเยียวยา
ประเด็นที่เจ็ด การขาดศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับการเยียวยา
โดยที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาหลายหน่วยงาน จึงพบว่าไม่มี หน่วยงาน
ใด เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ท าให้แต่ละหน่วยงานไม่สามารถ
เข้าถึงข้อมูลระหว่างกันได้ ประชาชนต้องให้ข้อมูลซ้ าหลายครั้งต่อทุกหน่วยงานที่ไปขอรับการเยียวยา ท าให้
การด าเนินการขาดความคล่องตัวและไม่สามารถอ านวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้รับบริการ ได้แก่
ผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ และขาดฐานข้อมูลกลางที่จะสามารถน าไปพัฒนาเชิงระบบต่อไป
๓.๓ หลักการ แนวคิด หลักกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
๓.๓.๑ กฎหมายภายใน
๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
ได้คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค ที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครอง
ตามประเพณี การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วตามมาตรา ๔ ซึ่งหลักการของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ก าหนดให้บุคคลเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครอง
เท่าเทียมกันตามมาตรา ๓๐ และรัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม ทั่วถึง และอ านวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันตามมาตรา
๘๑ รวมถึงผู้บริโภคมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้แก้ไขเยียวยาความเสียหายตามมาตรา ๖๑
๒) หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
รัฐธรรมนูญฯ ก าหนดให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิด
สิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระท าความผิดอาญาของบุคคลอื่น มีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือ
ช่วยเหลือจากรัฐตามมาตรา ๒๕ และบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันตามมาตรา ๒๗
รวมทั้งรัฐพึงให้ความคุ้มครองป้องกันมิให้เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาส
ถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบ าบัด ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระท าการ
ดังกล่าวตามมาตรา ๗๑
๓.๓.๒ หลักการและกฎหมายระหว่างประเทศ
๑) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๒๖