Page 29 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 29

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐


                                      ที่ผ่านมา การเยียวยาของรัฐต่อผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมีเฉพาะการเยียวยา
                  ในรูปแบบของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือตัวเงิน (compensation) ซึ่งเห็นว่าควรมีการเยียวยา

                  ในรูปแบบอื่นนอกจากด้านการเงินด้วย ซึ่งการเยียวยาด้านการเงินในบางกรณีจะเป็นจ านวนที่สูงมาก อาทิ
                  ตามพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ผู้เสียหายจะได้รับเงินเยียวยาสูงถึง

                  ๗,๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ก็ไม่ใช่การเยียวยาที่ผู้เสียหายพอใจทั้งหมด เพราะนอกจากการเยียวยาในรูปแบบตัว
                  เงินแล้ว การเยียวยาที่ผู้เสียหายต้องการ คือ ความยุติธรรม ทั้งนี้ อาจจ าเป็นต้องมีการเยียวยาด้านอื่นด้วย เช่น

                  การฟื้นฟูสภาพจิตใจ

                                      ประเด็นที่ห้า การเยียวยาที่ล่าช้าและไม่เพียงพอ


                                       เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง การเยียวยาที่มีประสิทธิผลควรต้องด าเนินการ
                  อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์และเพียงพอ เช่น กรณีเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งความล่าช้า

                                                        ๑๘
                  ในกรณีดังกล่าวเกิดจากกระบวนการตรวจสอบ  หรือกรณีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับความเสียหายจะอยู่
                  ในประเทศไทยไม่นาน หากการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ล่าช้า จะท าให้การเยียวยาไม่ทันการณ์และบางกรณีพบว่า
                  กระบวนการเยียวยาในสถานการณ์เดียวกัน ใช้เวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจไม่เป็นธรรมต่อผู้ได้รับความ

                  เสียหาย อาทิ กรณีเหตุวินาศกรรมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ มีการจ่ายเงินเยียวยาแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

                  ภายในเจ็ดวัน แต่การเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นคนไทย มีความล่าช้าและไม่เพียงพอกับความ
                  เสียหายที่ได้รับ ท าให้มีการร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องกินยา
                                                         ๑๙
                  ไปตลอดชีวิตและยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้

                                    ประเด็นที่หก การประเมินผลกระทบความเสียหายที่แตกต่างกัน กรณีความพิการ

                  หรือทุพพลภาพ

                                           ในการประเมินผลกระทบความเสียหายเพื่อให้การเยียวยา พบว่ามีการประเมินระดับ
                  หรือรายละเอียดเกี่ยวกับความพิการหรือทุพพลภาพที่แตกต่างกันตามฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น

                  ระหว่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ กับพระราชบัญญัติ

                  สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติหรือการปฏิบัติตามหน้าที่
                  มนุษยธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้น หรือตามคู่มือความสามารถของคนพิการที่กระทรวงสาธารณสุข









                         ๑๘
                            คมชัดลึก. (๒๕๕๕) แม่น้องเกดโวยจ่ายเงินเยียวยาล่าช้า.
                  สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/politic/130451
                         ๑๙  มติชนออนไลน์. (๒๕๕๙). ครบ ๑ ปี เหยื่อระเบิดราชประสงค์โผล่กลางวงแถลงข่าว ขอรัฐเยียวยาร่ าไห้ชีวิต
                  สุดล าบาก. สืบค้นจาก http//www.matichon.co.th/news/๒๕๒๙๙๒




                                                            ๒๕
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34