Page 28 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 28

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐


                                     ประเด็นที่สอง แนวทางที่เหมาะสมในการก าหนดหลักเกณฑ์กลางในการเยียวยา

                                      การก าหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา ตามมติคณะรัฐมนตรี

                  เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ในรูปแบบของพระราชบัญญัติตั้งแต่แรกอาจมีความไม่ยืดหยุ่น เห็นว่า ควรมี
                  การแยกหมวดหมู่ของการเกิดความเสียหายตามมิติต่าง ๆ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์และลองน าไปใช้ระยะเวลา

                  หนึ่ง ให้เป็นแนวปฏิบัติที่แน่นอนชัดเจนส าหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จนเห็นว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง
                  เสียก่อน จึงออกเป็นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ สัดส่วนของเงินเยียวยาไม่จ าเป็นต้องเท่ากัน แต่ถ้าความเสียหาย

                  เกิดจากมูลเหตุลักษณะเดียวกันแล้ว ควรใช้หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเดียวกันในการพิจารณาให้เงินเยียวยาเพื่อ
                  ความเท่าเทียม และหลักเกณฑ์กลางเมื่อก าหนดขึ้นเป็นกฎหมายแล้ว จ าเป็นต้องมีการทบทวนเป็นระยะ


                                      ประเด็นที่สาม ความหมายของผู้ได้รับความเสียหายที่ยังขาดความครอบคลุม

                                      ตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ได้ก าหนดเรื่อง

                  การเยียวยาไว้ใน ๒ กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง และกลุ่มเหยื่อ/
                  ผู้เสียหายเนื่องจากการกระท าความผิดอาญาของผู้อื่น ซึ่งยังมิได้ครอบคลุมถึงนักปกป้อง

                  สิทธิมนุษยชนที่ถูกบังคับให้สูญหาย ซึ่งตามหลักการสิทธิมนุษยชนแล้ว ถือว่าเป็นกรณีที่มีการละเมิด

                  สิทธิมนุษยชนที่มีความรุนแรงมากกว่ากรณีทั่วไป เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่ท าหน้าที่ในการปกป้อง
                                                                                                        ๑๗
                  สิทธิมนุษยชนที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองเป็นการเฉพาะตามปฏิญญาว่าด้วยผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
                  ในอดีตที่ผ่านมา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยหลายรายถูกข่มขู่ คุกคาม สังหารและ
                  หายสาบสูญ ประกอบกับประเทศไทยได้ลงนามแสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่าง

                  ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ และอยู่ระหว่างการจัดท า

                  ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... และ
                  อนุบัญญัติเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณี รัฐจึงควรให้ความคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

                  เป็นการเฉพาะและพิจารณาแก้ไขให้มีการเยียวยาครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
                  และหรือบุคคลที่เชื่อได้ว่าถูกบังคับให้สูญหาย


                                      ประเด็นที่สี่ การเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกเหนือจากการจ่าย
                  ค่าสินไหมทดแทน (compensation)











                         ๑๗  Declaration on the Right and Responsibility of Individuals, Groups and Organs of Society to
                  Promote  and  Protect  Universally  Recognized  Human  Rights  and  Fundamental  Freedoms สืบค้นจาก
                  http://www.ohchr.org/EN/Issues/SRHRDefenders/Pages/Declaration.aspx




                                                            ๒๔
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33