Page 27 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 27
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ขัดแย้งทางการเมือง การก่อเหตุประท้วง การก่อเหตุรุนแรงในสังคมของกลุ่มต่าง ๆ โดยแผนสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติดังกล่าวก าหนดข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา คือ ให้ทบทวนและปรับปรุง
แนวทางการให้การชดเชยและเยียวยาผู้ที่สูญเสียและได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความรุนแรงให้
เป็นไปในแนวทางเดียวกันและมีความเท่าเทียมกัน รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือ
เจ้าหน้าที่รัฐตามผลกระทบที่ได้รับ โดยพิจารณาจากผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และทรัพย์สิน
๓.๒ การรับฟังความเห็น
คณะอนุกรรมการด้านข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้รับฟังความเห็นจากผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ
ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง
สาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ส านักงานอัยการสูงสุด ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี ส านักงาน
ต ารวจแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม ศูนย์อ านวยการบริหารจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ส านักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรุงเทพมหานคร โดยสรุปข้อเท็จจริง และ
ความเห็นที่เป็นสาระส าคัญได้ ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง มาตรฐานในการเยียวยาที่แตกต่างกันเนื่องจากความหลากหลายของ
หน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในกระบวนการเยียวยาต่าง ๆ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ านวนมาก โดยแต่ละหน่วยงาน
มีกฎหมายที่ใช้บังคับซึ่งก าหนดสัดส่วนเงินชดเชยหรือเยียวยาและกระบวนการที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุให้
เกิดความไม่เท่าเทียมกัน นอกจากนี้ กฎหมายหรือระเบียบของแต่ละหน่วยงานมีฐานอ านาจตามกฎหมาย
แต่ละฉบับที่ออกต่างกรรมต่างวาระ โดยบางฉบับออกห่างกันเป็นเวลานาน ด้วยเหตุดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจึงมีมติ
๑๖
เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ มอบให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดท ากฎหมายหรือระเบียบ เงื่อนไขและวิธีการ ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา ที่ครอบคลุมทุกกรณี
ไม่ว่ากรณีความเสียหายจะเกิดจากการชุมนุมทางการเมือง ภัยพิบัติธรรมชาติ เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิด
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือกรณีอื่นก็ตาม และให้ครอบคลุมบุคคลทุกกลุ่ม ปัจจุบันเรื่องนี้อยู่ในระหว่าง
การพิจารณาของกระทรวงการคลัง (มกราคม ๒๕๖๐)
๑๖ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทาง เรื่อง ค่าบริการทางการแพทย์
และเงินเหมาจ่ายช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล กรณีผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์เหตุระเบิดแยกราชประสงค์
วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ของกระทรวงสาธารณสุข สืบค้นจาก http://www.thaigov.go.th
๒๓