Page 25 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 25
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗ เรื่อง สิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายและ
จ าเลยในคดีอาญาว่า โดยหลักเมื่อบุคคลได้รับความเสียหายจากการกระท าของรัฐ หน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ความเสียหายเรื่องข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การใช้นโยบายหรือ
การบริหารหรือการกระท าใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชน บุคคลควรได้รับการเยียวยา
โดยก าหนดในกฎหมายและใช้กระบวนการยุติธรรมทางศาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสมควรร่วมกันศึกษา
และวิเคราะห์เพื่อวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและให้มีมาตรฐานเดียวกันในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับ
ความเสียหายจากการกระท าของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเนื่องจากข้อบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม
หรือจากการใช้นโยบายหรือการบริหาร หรือการกระท าใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชน
พร้อมทั้งควรเพิ่มเติมมาตรการการให้ความช่วยเหลือเยียวยาทางด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการเยียวยา
ด้านการเงิน ซึ่งคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการต ารวจ สภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ แจ้งว่า การพิจารณาตามข้อกฎหมาย มาตรา ๒๐ (๓) จ าเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ ต้องเป็นจ าเลยที่ถูก
ด าเนินคดีโดยพนักงานอัยการ ซึ่งถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาและมีค าพิพากษาถึงที่สุดว่าจ าเลยมิได้
กระท าผิดหรือการกระท าของจ าเลยไม่เป็นความผิด ทั้งนี้ กรณีศาลมีค าพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และหาก
คณะกรรมการพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าจ าเลยไม่ได้กระท าความผิดอาจพิจารณาให้จ่ายค่าทดแทน
แก่จ าเลยได้๑๒ และกระทรวงยุติธรรมแจ้งต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่าได้พิจารณาข้อเสนอแนะฯ
โดยสรุปสาระส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาได้ว่า กระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาหลักเกณฑ์แนวทางการเยียวยาผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ถูกควบคุมตัวระหว่าง
๑๓
ถูกด าเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน
๓) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีข้อเสนอแนะนโยบาย
ในรายงานผลการพิจารณาค าร้องเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ที่ ๓๖๖/๒๕๕๘ วันที่
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ เรื่อง สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี ๒๕๕๓ อ้างว่าไม่ได้รับความ
เป็นธรรมในการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลว่า ควรสร้างหลักเกณฑ์ในการชดเชยและเยียวยาผู้ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง โดยการจัดให้มีกฎหมายรองรับกระบวนการชดเชยและ
เยียวยาผู้เสียหายจากการชุมนุมทางการเมือง มีหลักเกณฑ์ที่เป็นกลางและครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบ
ทุกฝ่าย ซึ่งส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมผลด าเนินการตาม
๑๒
หนังสือคณะกรรมาธิการการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกิจการต ารวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ที่ สว (สนช) (กมธ ๒) ๐๐๑๐/๗๑๗ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๓ หนังสือส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๓/๑๗๔๓๐ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๑