Page 24 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 24
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
หรือค าสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ได้จัดท าข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค าสั่งใด ๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยได้มีการศึกษานโยบาย กฎหมาย
มติคณะรัฐมนตรี หลักการสิทธิมนุษยชน ข้อพิจารณาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติที่ผ่านมา และจัดประชุมรับฟังความเห็นจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูล
ประกอบการพิจารณา ดังนี้
๓.๑ ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๓.๑.๑ ความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผ่านมา
๑) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีข้อเสนอแนะนโยบาย
ในรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ที่ ๘๐๐/๒๕๕๖
วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ
หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ ายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคี
พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง
มิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยามีความเห็นว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๓ และรายการท้ายพระราชบัญญัติฯ เพื่อประกันว่าผู้เสียหายเนื่องจากการถูกบังคับให้สูญหาย
จะได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและเพียงพอซึ่งกระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงาน
หลักในการรวบรวมผลด าเนินการตามข้อเสนอแนะฯ แจ้งต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่าได้พิจารณา
ข้อเสนอแนะฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปสาระส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาได้ว่า กระทรวง
ยุติธรรมอยู่ระหว่างการทบทวนและปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน พ.ศ. ๒๕๔๖ และ
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และ
หากร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ได้รับ
การรับรองตามกฎหมายแล้ว จะบรรจุความผิดฐานทรมานและบังคับบุคคลให้สูญหายในกฎหมาย
ทั้งสองฉบับ เพื่อให้เป็นความผิดที่สามารถขอรับความคุ้มครองพยาน และค่าตอบแทน ค่าทดแทน และ
๑๑
ค่าใช้จ่ายได้ตามกฎหมายต่อไป
๒) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีข้อเสนอแนะนโยบาย
ในรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ที่ ๓๑๕/๒๕๕๗
๑๑ หนังสือส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๕/๒๗๘๕๗ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๐