Page 23 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 23
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
๑๐
กับกรณีความเสียหายที่ตนได้รับ ซึ่งในบางกรณีเป็นผลท าให้เสียสิทธิในการได้รับการเยียวยา นอกจากนี้
ยังขาดกฎหมายครอบคลุมถึงการเยียวยาความเสียหายในบางกรณี และที่ส าคัญ คือ เกิดความเหลื่อมล้ า
ในการเยียวยา อาทิ กรณีการเยียวยาความเสียหายผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองโดย
มติคณะรัฐมนตรีที่แตกต่างกัน ทั้งที่เป็นกรณีการชุมนุมทางการเมืองเช่นเดียวกัน ดังที่คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เคยมีข้อเสนอแนะไปแล้ว
๒. การพิจารณาเบื้องต้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะ
มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบ หรือค าสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน พิจารณาปัญหาการเยียวยาความเสียหาย กรณี
การละเมิดสิทธิมนุษยชนและกรณีการเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม ตามมาตรา ๒๔๗ (๓) ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
คณะอนุกรรมการดังกล่าวได้ศึกษานโยบาย กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หลักการ
สิทธิมนุษยชน ข้อพิจารณาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผ่านมา
จัดประชุมรับฟังความเห็นจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และจัดท าข้อเสนอแนะมาตรการหรือ
แนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือค าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการเยียวยาได้โดยง่าย
มีความครอบคลุม และมีหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่เหมาะสม ชัดเจนในแต่ละมิติ ท าให้เกิดความเสมอภาคและ
เป็นธรรม
๓. การด าเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะมาตรการหรือ
แนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
๑๐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับค าร้องที่ ๖๗๓/๒๕๕๙ เรื่อง สิทธิในชีวิตและร่างกาย กรณีกล่าว
อ้างว่าผู้พิการถูกท าร้ายร่างกาย ท าให้ได้รับความเดือดร้อน โดยเรื่องดังกล่าวผู้ร้องถูกท าร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับ
อันตรายสาหัส เมื่อปี ๒๕๔๓ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต ารวจไม่สามารถจับตัวผู้กระท าความผิดในข้อหาท าร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้
ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสได้ภายในอายุความ ๑๕ ปี และผู้ร้องไม่ได้รับการเยียวยาตาม พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายและ
ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ เนื่องจากไม่ได้ยื่นค าขอภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้
ถึงการกระท าความผิด
๑๙