Page 20 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 20

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐


                                ดังนั้น การก าหนดความรับผิดทางอาญาในลักษณะนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการด าเนินงาน
                  ของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่อาจไม่กล้าตัดสินใจด าเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการ

                  บริหารพัสดุภาครัฐ ส่งผลกระทบต่อระบบราชการทั้งต่อหน่วยงานของรัฐโดยรวมและเจ้าหน้าที่ เพราะเกรง
                  ความรับผิดทางอาญาที่จะเกิดแก่ตน ซึ่งปัญหาลักษณะนี้ถือเป็นที่มาของการใช้บังคับพระราชบัญญัติความ

                                                       ๗
                  รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙  ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ
                  วิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

                  สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ให้ปรับแก้บทก าหนดโทษตามมาตรา ๑๑๘

                  ๕. ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย


                                เพื่อให้บทบัญญัติแห่งร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
                  พ.ศ. ....  น าไปสู่การใช้บังคับและการปฏิบัติตรงตามเจตนารมณ์และหลักธรรมาภิบาล สอดคล้องกับ

                  หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติ

                  ตามคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นควรมีข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติ
                  แห่งชาติในฐานะรัฐสภาตามมาตรา ๑๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้

                                ๕.๑ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ควรแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา ๗ วรรคสาม และมาตรา ๘

                  ให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principle








                         ๗
                            หมายเหตุ:-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การที่เจ้าหน้าที่ด าเนินกิจการต่างๆ ของ
                  หน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
                  ในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่ง
                  และพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระท าต่างๆ เป็นการ
                  เฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ท าไปท าให้หน่วยงานของรัฐต้องรีบผิดต่อบุคคลภายนอกเพียงใดก็จะมีการฟ้องไล่เบี้ยเอาจาก
                  เจ้าหน้าที่เต็มจ านวนนั้น ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเล็กน้อยในการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนั้น
                  ยังมีการน าหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระท าของเจ้าหน้าที่
                  ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่งหมายแต่จะได้เงินครบโดยไม่ค านึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อแต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิด
                  ความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็นการบั่นทอนก าลังขวัญในการท างานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็น
                  ปัญหาในการบริหารเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจด าเนินงานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิดแก่ตน อนึ่ง
                  การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการท างานของเจ้าหน้าที่ยังมีวิธีการในการบริหารงานบุคคลและการด าเนินการ
                  ทางวินัยก ากับดูแลอีกส่วนหนึ่งอันเป็นหลักประกันมิให้เจ้าหน้าที่ท าการใดๆ โดยไม่รอบคอบอยู่แล้ว ดังนั้น จึงสมควร
                  ก าหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระท าเพื่อการเฉพาะตัว หรือ
                  จงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดชอบของแต่ละคนมิให้น า
                  หลักลูกหนี้ร่วมให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ  จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้




                                                            ๑๖
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25