Page 19 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 19
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
และให้หมายความรวมถึงการประมาทเลินเล่อในหน้าที่ดังกล่าวด้วย ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายก าหนด
ไว้ส าหรับการกระท าความผิดนั้น”
เมื่อพิจารณาข้อเสนอแนะข้างต้นที่ให้ปรับแก้บทก าหนดโทษตามมาตรา ๑๑๘
ให้สอดคล้องกับการกระท าความผิด แล้วเห็นว่า เป็นการก าหนดบทบัญญัติที่มีโทษทางอาญา ซึ่งขาดความ
ชัดเจนว่าการกระท าใดจะมีความรับผิดทางอาญา และบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับโทษขาดความชัดเจนว่า
การกระท าที่ถือว่าเป็นความผิดนั้นจะได้รับโทษสถานใด นอกจากนี้ บทบัญญัติตามข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้
ก าหนดระวางโทษไว้แต่อย่างใด แต่ก าหนดให้ต้องไปพิจารณาจากกฎหมายอื่นๆ ซึ่งเป็นการก าหนด
บทลงโทษที่ไม่แจ้งชัด อันไม่สอดคล้องกับหลักการ “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย” ซึ่งเป็น
หลักการสากลที่ได้รับการรับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมือง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ และ
ประมวลกฎหมายอาญา ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
ในส่วนมาตรา ๑๑๘ วรรคสาม พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการก าหนดความรับผิดของ
เจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ เป็นการก าหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดหากการปฏิบัติหรือละเว้น
ไม่ปฏิบัติเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ค าสั่ง มติคณะรัฐมนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการ
บัญญัติลักษณะนี้อาจท าให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากข้อบังคับ ค าสั่ง
มติคณะรัฐมนตรีอาจก าหนดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหตุการณ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มิได้มีลักษณะเป็นการ
ถาวร หรืออาจเป็นแนวปฏิบัติภายในของแต่ละส่วนราชการเท่านั้น ซึ่งบางกรณีหากเป็นการกระท าที่ไม่ได้
ทุจริตและรัฐไม่เสียประโยชน์ อาจมีความรับผิดทางวินัยตามระเบียบของหน่วยงานเท่านั้น จึงไม่ควรที่จะ
ก าหนดให้มีความรับผิดทางอาญาในส่วนนี้ด้วย อีกทั้ง บทบัญญัตินี้ได้ก าหนดความรับผิดทางอาญาให้จ าคุก
อันกระทบสิทธิเสรีภาพของเจ้าหน้าที่เป็นอย่างยิ่ง โดยเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดแม้ว่าการปฏิบัติหรือละเว้น
ไม่ปฏิบัตินั้นจะเป็นการทุจริตในวงราชการด้วยหรือไม่ก็ตามรวมถึงต้องรับผิดกรณีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
ประมาทเลินเล่อด้วย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในทางอาญาได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากพระราชบัญญัติ
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่แม้ว่าความรับผิดของเจ้าหน้าที่จะเป็นความรับผิด
ทางแพ่งซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพน้อยกว่า แต่ก็ยังก าหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องรับผิดต่อเมื่อได้
๖
จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น
๖
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๘ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่
ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ท าละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่
ได้กระท าการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
๑๕