Page 16 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 16

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐


                               หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principle
                  on Business and Human Rights) ก าหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                  จากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายความรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจด้วย องค์กรและบุคคล
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน และเมื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                  เกิดขึ้น รัฐต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสม รวมทั้งยังเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจจัดให้มีช่องทางในการ
                  ร้องเรียนและเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วย ตามแนวทางนี้ รัฐจึงต้องผูกพันในการ

                  ด าเนินการเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากธุรกิจ ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐก็เป็นเรื่อง

                  หนึ่งที่รัฐควรให้ความส าคัญในการด าเนินการดังกล่าว และโดยที่ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและ
                  การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... มีเจตนารมณ์ให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการ

                  ปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิด

                  โอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน
                  รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการ

                  จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง
                  ภาครัฐ จึงอาจกล่าวได้ว่า การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเป็น

                  กระบวนการที่รัฐผูกนิติสัมพันธ์กับองค์กรธุรกิจหรือองค์กรเอกชนที่ประกอบกิจการและอาจก่อให้เกิดการ
                  ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การจ้างแรงงานที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น

                  นอกจากนี้ ได้มีแนวคิดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน (Sustainable Public Procurement) ซึ่งเป็น

                  กระบวนการที่ถูกน ามาปรับใช้เพื่อให้การก าหนดนโยบาย การด าเนินโครงการของรัฐประสบความส าเร็จ
                  และเกิดความคุ้มค่าในการสร้างผลประโยชน์ที่ค านึงถึงสังคม เศรษฐกิจ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย

                  ปัจจัยด้านสังคมดังกล่าวมีรายละเอียดครอบคลุมไปถึงความยุติธรรมและความเสมอภาคทางสังคม สิทธิ

                  มนุษยชนและเงื่อนไขการจ้างแรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อม

                         เมื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ....

                  มาตรา ๗ วรรคสาม ที่ก าหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้หน่วยงาน
                  ของรัฐจัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางของ

                  พระราชบัญญัตินี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการในเรื่องความคุ้มค่า โปร่งใส มีสิทธิภาพและประสิทธิผล
                  และตรวจสอบได้ และมาตรา ๘ ที่ก าหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้อง

                  ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพ
                  และประสิทธิผล และตรวจสอบได้  เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการวางหลักการทั่วไปให้การด าเนินการ

                  จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและการบริหารพัสดุสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ไม่ว่าด าเนินการจัดซื้อจัด

                  จ้างภาครัฐและการบริหารพัสดุนั้นจะอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ แต่ยังขาดหลักการ
                  สร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคม และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้






                                                            ๑๒
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21