Page 17 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 17
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
กฎหมายเป็นไปตามเจตนารมณ์และหลักธรรมาภิบาล และสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
มากยิ่งขึ้น จึงเห็นควรให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา ๗ วรรคสาม และมาตรา ๘
แห่งร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... ให้ค านึงถึงหลักการจัดซื้อ
จัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืนด้วย
๔.๒ บทก าหนดโทษ
กฎหมายอาญาเป็นบทบัญญัติที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เนื่องจากมีการ
ก าหนดบทลงโทษที่มุ่งหมายต่อสิทธิในชีวิตร่างกายและเสรีภาพของบุคคล คือ โทษประหารชีวิต โทษจ าคุก
โทษกักขัง และบทลงโทษที่มุ่งหมายต่อทรัพย์สินของบุคคล คือ โทษปรับ โทษริบทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้การ
บัญญัติกฎหมายอาญาจึงต้องมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างจากฎหมายอื่น โดยเป็นหลักการสากลคือ “ไม่มี
ความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย (Nullum crimen nulla poena sine lege)”
หลักการนี้เป็นหลักการสากลอันเป็นที่ยอมรับในนานาอารยประเทศ อันได้แก่ ปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑๑ (๒) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๕
ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกและมีพันธกรณีระหว่างประเทศ และประเทศไทยได้มีการรับรองหลักการนี้
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ ซึ่งยังคงได้รับการคุ้มครองตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ อีกทั้ง ประมวลกฎหมาย
อาญาได้มีการก าหนดหลักการนี้ไว้ในมาตรา ๒ วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญา
ต่อเมื่อได้กระท าการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระท านั้นบัญญัติเป็นความผิดและก าหนดโทษไว้ และโทษที่
จะลงแก่ผู้กระท าความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติในกฎหมาย” โดยมีหลัก ๕ ประการ คือ ๑) ผู้กระท าไม่
ต้องรับผิดในทางอาญา หากการกระท านั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ในขณะกระท าว่าเป็นความผิดและ
ก าหนดโทษไว้ ๒) กฎหมายอาญาจะย้อนหลังให้ผลร้ายมิได้ ๓) ถ้อยค าในกฎหมายอาญาจะต้องบัญญัติให้
ชัดเจนแน่นอนปราศจากความคลุมเครือ การที่จะต้องให้กฎหมายมีความชัดเจนแน่นอนนั้นเพื่อให้
ประชาชนผู้ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายมีโอกาสได้รู้ล่วงหน้าว่า การกระท าหรือไม่กระท าของเขาเป็นความผิด
/บทบัญญัติ ....
หรือไม่ นอกจากบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดจะต้องบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดแล้ว บทบัญญัติในส่วน
ที่เกี่ยวกับโทษก็จะต้องแจ้งชัดด้วยว่าการกระท าที่ถือว่าเป็นความผิดนั้นๆ จะได้รับโทษสถานใด และ
๔) กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด
๔.๒.๑ บทก าหนดโทษตามร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. .... (อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นวาระที่สอง ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
๕
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, ค าอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ (กรุงเทพมหานคร
: ส านักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย), ๒๕๕๑), หน้า ๑๖ – ๓๑.
๑๓