Page 11 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 11
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะ
นโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จัดท า
ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและ
การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... โดยได้มีการศึกษาเอกสารวิชาการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้มีการ
พิจารณาข้อเสนอและความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ต่อร่างพระราชบัญญัติ
การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังนี้
๓.๑ สาระส าคัญของร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. .... (อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นวาระที่สอง ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
๓.๑.๑ หลักการและเหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ....
มีเจตนารมณ์ให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยการก าหนดเกณฑ์มาตรฐานกลาง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งน าไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยมุ่งเน้น
การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน
อย่างเป็นธรรม มีการด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ค านึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นส าคัญซึ่งจะ
ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน มีการวางแผนการด าเนินงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ซึ่งจะท าให้การจัดซื้อจัดจ้างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
การส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อ
ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประกอบกับมาตรการอื่นๆ เช่น การจัดซื้อ
จัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะท าให้เกิดความโปร่งใสในการด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนและก่อให้เกิดผลดีกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เป็น
ที่ยอมรับโดยทั่วไป
๓.๑.๒ หลักการทั่วไปว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงาน
ของรัฐ
การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้หน่วยงานของรัฐ
จัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางของ
พระราชบัญญัตินี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการในเรื่องความคุ้มค่า โปร่งใส มีสิทธิภาพและประสิทธิผล
และตรวจสอบได้ (มาตรา ๗)
การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้ (มาตรา ๘)
๗