Page 9 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 9
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ดังนี้ (๑) การออกค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
นโยบายในการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และความจ าเป็นต้องเข้าไปด าเนินการภายในที่ดิน
ของรัฐบางประเภทโดยเฉพาะที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับแนวทางการปฏิรูปประเทศ
ทั้งด้านการปฏิรูปเกษตรกรรมหรือการปฏิรูปพลังงานตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้อย่างชัดเจน (๒) การน าพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินให้เอกชน
ประกอบกิจการอื่นย่อมมีผลกระทบต่อเกษตรกรตามที่พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติรับรองไว้ต้องค านึงถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมในนโยบายหรือกิจกรรมใด ๆ ของรัฐที่อาจมี
ผลกระทบต่อประชาชน ตลอดจนหลักการชดเชยเยียวยา ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
(๓) ค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ มีผลกระทบต่อสิทธิของเกษตรกร เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่มุ่งคุ้มครองการด ารงชีวิตของเกษตรกรซึ่งไม่มีที่ดินท ากิน
หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ตลอดจนท าให้ดุลยภาพของกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
ต่อมา เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๑ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาระส าคัญโดยสรุป ดังนี้ ๑) ส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงยุติธรรมเห็นด้วยกับ
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เสนอให้ใช้วิธีเพิกถอนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
โดยการตราพระราชกฤษฎีกาในบริเวณที่ประสงค์จะใช้เพื่อจัดกิจการอื่นอันเป็นประโยชน์ส าคัญของ
ประเทศ แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานไม่เห็นพ้องด้วย เนื่องจากวิธีการดังกล่าว
ไม่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร รวมทั้งเป็นภาระในแง่งบประมาณและบุคลากร ๒) กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เห็นพ้องว่า ค าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๑/๒๕๖๐
ไม่จ าเป็นต้องก าหนดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากมีกฎหมายเฉพาะอื่นก าหนดไว้แล้ว รวมทั้ง
ไม่จ าเป็นต้องด าเนินกระบวนการตามมาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุธศักราช ๒๕๖๐ โดยไม่แจ้งเหตุผลแต่อย่างใด รายละเอียดอยู่ในข้อเสนอแนะฯ
และเอกสารประกอบข้อเสนอแนะเรื่องที่ ๓
๕