Page 8 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 8

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐


                                ต่อมา กระทรวงมหาดไทย เห็นว่า กฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการ
                  เยียวยาความเสียหายในปัจจุบัน มีความเหลื่อมล้ าและแตกต่างกัน หากจะด าเนินการปรับปรุงให้มี

                  หลักเกณฑ์กลางเป็นมาตรฐานเดียวกันตามข้อเสนอแนะของคณะกรรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งงชาตินั้น
                  มีความเหมาะสม และเห็นด้วยในหลักการของข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับการก าหนดให้มีรูปแบบการ

                  เยียวยาผู้เสียหายที่หลากหลายทั้งด้านการเงินและนอกเหนือจากด้านการเงิน รวมถึงการจัดให้มีกลไกต่าง ๆ

                  เพื่อให้การเยียวยามีประสิทธิภาพรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย และทั่วถึง

                                ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งว่า
                  รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีค าสั่งและมอบหมาย

                  ให้ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                  และมีผลการพิจารณาด าเนินการต่อมาคือ กรมบัญชีกลางจะมีการยกร่างระเบียบเพื่อให้ความช่วยเหลือ
                  กรณีชีวิตและร่างกาย โดยเทียบเคียงอัตราการให้ความช่วยเหลือจากพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

                  เนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติหรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓

                  และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
                  ขณะเดียวกันส านักงานกิจการยุติธรรม ได้มีการศึกษากฎหมายต่างประเทศแล้วพบว่า ประเทศเยอรมนี

                  และประเทศชิลี มีการช่วยเหลือในรูปแบบของระเบียบวิธีปฏิบัติ แต่ไม่มีกฎหมายแต่อย่างใด หากมีความ

                  คืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป รายละเอียดอยู่ในข้อเสนอแนะฯ และเอกสารประกอบข้อเสนอแนะเรื่องที่ ๒

                               เรื่องที่ ๓

                                ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กรณีค าสั่ง

                  หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๑/๒๕๖๐ เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมาย
                  ว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของ

                  ประเทศ

                                ด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ เรื่อง

                  การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                  แก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ โดยมีสาระส าคัญ

                  ให้สามารถน าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการอื่นนอกเหนือจากการท าเกษตรกรรมหรือ

                  กิจการที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวข้องได้ ซึ่งการออกค าสั่งดังกล่าวมีผลเป็นการกระทบต่อเจตนารมณ์ของ
                  พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่มีสาระส าคัญเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินท ากิน

                  ของเกษตรกร เนื่องจากที่ดินเป็นปัจจัยส าคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางเกษตรกรรม

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นว่า ค าสั่งดังกล่าวมีผลกระทบต่อ

                  หลักสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และกติการะหว่าง





                                                             ๔
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13