Page 7 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 7
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
เรื่องที่ ๒
ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อแก้ไข
ปัญหาการเยียวยาความเสียหาย กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกรณีการเยียวยาตามหลัก
มนุษยธรรม
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เสนอข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางและ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการเยียวยาความเสียหาย กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และกรณีการเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม ต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา
สรุปสาระส าคัญ ดังนี้
คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันพิจารณาก าหนดให้มีหลักเกณฑ์กลาง
ในการเยียวยาความเสียหายเพื่อให้เกิดมาตรฐานที่เท่าเทียมและเป็นธรรม หลักเกณฑ์กลางดังกล่าว
ควรครอบคลุมทุกมิติ และให้รวมถึงกรณีการเยียวยาด้านมนุษยธรรมด้วย หลักเกณฑ์ที่ก าหนดควรให้มีการ
ทบทวนเป็นระยะ และรูปแบบการเยียวยาควรมีความหลากหลาย ทั้งการเยียวยาด้านการเงินและการเยียวยา
รูปแบบอื่นนอกเหนือจากด้านการเงิน เช่น การฟื้นฟูด้านจิตใจ การกลับคืนสู่การจ้างงาน เป็นต้น ส านักงาน
ปลัดส านักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สามารถท าหน้าที่เชื่อมหรือประสานกับหน่วยงานอื่น ติดตามและ
ประเมินผลการปฏิบัติราชการ ควรเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลเรื่องการเยียวยาเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น
ในภาพรวม ให้มีกลไกหรือศูนย์รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งข้อเท็จจริง
และกฎหมาย โดยข้อมูลต้องทันสมัยและทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ทั้งระบบ ให้เจ้าหน้าที่
ของรัฐแจ้งสิทธิ หรือมีกลไกอื่นเพิ่มเติมเพื่อแจ้งสิทธิในการเยียวยาตามกฎหมายต่าง ๆ แก่ผู้เสียหาย ท าให้
ผู้เสียหายเข้าถึงการเยียวยาได้โดยง่ายและทั่วถึง และให้มีกระบวนการหรือกลไกเฉพาะเพื่อทบทวน
ผลการพิจารณาให้การเยียวยา ทั้งอัตราการเยียวยาด้านการเงินหรือรูปแบบการเยียวยาให้เหมาะสม
ทบทวนการได้รับการเยียวยาเมื่อมีข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ควรก าหนดให้มีระยะเวลาในการเยียวยา
ที่เหมาะสม และมีการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างกว้างขวางเพื่อให้ประชาชนทราบถึงสิทธิ
ดังกล่าว
คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนิยามความหมายของผู้เสียหาย
ในร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระท าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ให้รวมถึง
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่สูญหาย ครอบครัวหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลโดยตรงของนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชน เพื่อให้การเยียวยาครอบคลุมผู้ได้รับความเสียหายตามความเป็นจริง และควรแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ หรือ
พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง โดยให้จ าเลยในคดีที่ศาล
มีค าพิพากษายกฟ้องได้รับการเยียวยาทุกกรณี
๓