Page 6 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 6
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ให้การด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและการบริหารพัสดุสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ไม่ว่าด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและการบริหารพัสดุนั้นจะอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้หรือไม่
แต่ยังขาดหลักการสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคม และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้น
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามเจตนารมณ์และหลักธรรมาภิบาล และสอดคล้องกับหลักการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น จึงเห็นควรให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา ๗ วรรคสาม
และมาตรา ๘ แห่งร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... ให้ค านึงถึง
หลักการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืนด้วย
ในส่วนบทก าหนดโทษในหมวด ๑๕ มาตรา ๑๑๘ ของร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อ
จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... ที่ก าหนดให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอ านาจในการด าเนินการเกี่ยวกับ
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหาร
พัสดุตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจ าคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และมีโทษปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท พิจารณาแล้วเห็นว่า
เป็นการก าหนดโทษทางอาญาที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล มีการก าหนดบทลงโทษจ าคุก
และโทษปรับโดยมีอัตราโทษขั้นต่ า ซึ่งเป็นการจ ากัดการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาพิพากษาลงโทษ
โดยการก าหนดโทษควรมีความเหมาะสมกับการลงโทษ ซึ่งอาจพิจารณาจากลักษณะการกระท าความผิด
และความร้ายแรงในแต่ละกรณี ประกอบกับมาตรา ๑๑๘ ได้ก าหนดความรับผิดไว้อย่างกว้างขวาง
ทั้งความผิดที่เกิดจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุตาม
พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ จึงไม่ควร
ก าหนดอัตราโทษขั้นต่ า เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษอย่างเหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระท า
ความผิดในแต่ละบุคคล
ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ
การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยพระราชบัญญัตินี้มีสาระส าคัญที่ไม่ต่าง
ไปจากร่างพระราชบัญญัติในชั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติน ามาพิจารณาจัดท าข้อเสนอแนะ กล่าวคือ หลักการทั่วไปให้การด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และการบริหารพัสดุยังขาดการค านึงถึงหลักความคุ้มค่า โปร่งใส มีสิทธิภาพและประสิทธิผล และบทบัญญัติ
ที่ก าหนดโทษทางอาญามีสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมกับองค์ประกอบและความรุนแรงของการกรท าความผิด
รายละเอียดอยู่ในข้อเสนอแนะฯ และเอกสารประกอบข้อเสนอแนะเรื่องที่ ๑
๒