Page 20 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 20

๑๘



                             ๒.๒ เกี่ยวกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแหงกฎหมาย
               ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผูแทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐

                             พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแหงกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญา
               ของผูแทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติจํานวน ๓ มาตรา โดยความในมาตรา ๓ ของพระราชบัญญัติ

               ฉบับนี้ ไดบัญญัติใหยกเลิกความในมาตราแหงประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติและพระราชกําหนด
               จํานวน ๗๖ ฉบับ และใหใชความตามที่ปรากฏในบัญชีทายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลําดับ ซึ่งไดเปลี่ยน
               หลักการในเรื่องความรับผิดของผูแทนนิติบุคคลตามบทสันนิษฐานของกฎหมายทั้ง ๗๖ ฉบับ ที่มีปญหาวา

               ขัดหรือแยงตอรัฐธรรมนูญ
                             เดิมประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ และพระราชกําหนดที่บัญญัติถึงความรับผิด

               ทางอาญาของผูแทนนิติบุคคล จํานวนกวา ๗๖ ฉบับ ไดมีบทมาตราที่ระบุไวในทํานองเดียวกันวา “ในกรณี
               ที่ผูกระทําความผิดที่ตองรับโทษเปนนิติบุคคล ใหกรรมการผูจัดการ หุนสวนผูจัดการ หรือผูแทนนิติบุคคล
               หรือผูซึ่งมีสวนรวมในการดําเนินงานของนิติบุคคล ตองรับโทษตามที่บัญญัติไวสําหรับความผิดนั้นๆ ดวย

               เวนแตจะพิสูจนไดวา การกระทํานั้นไดกระทําโดยตนมิไดรูเห็นหรือยินยอมหรือตนไดจัดการตามสมควร
               เพื่อปองกันมิใหเกิดความผิดนั้นแลว” ซึ่งขอสันนิษฐานในกฎหมายจํานวน ๗๖ ฉบับดังกลาว เปนขอ
               สันนิษฐานตามกฎหมายที่มีผลเปนการสันนิษฐานความผิดของจําเลย โดยโจทกไมจําตองพิสูจนใหเห็นถึง
               การกระทําหรือเจตนาอยางใดอยางหนึ่งของจําเลยกอน เปนการนําการกระทําความผิดของบุคคลอื่น

               มาเปนเงื่อนไขของการสันนิษฐานใหจําเลยมีความผิดและตองรับโทษทางอาญา ซึ่งขัดกับหลัก Due Process
                                  13
               of Law (นิติกระบวน) เนื่องจากการสันนิษฐานวา ถาผูกระทําความผิดเปนนิติบุคคล ก็ใหกรรมการ
               ผูจัดการ ผูจัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นตองรวมรับผิดกับ
               นิติบุคคลผูกระทําความผิดดวย เวนแตจะพิสูจนไดวาตนไมไดมีสวนรูเห็นเปนใจในการกระทําความผิดของ

               นิติบุคคลดังกลาว โดยโจทกไมจําตองพิสูจนถึงการกระทําหรือเจตนาของกรรมการผูจัดการ ผูจัดการ หรือ
               บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นวามีสวนรวมเกี่ยวของกับการกระทําความผิด
               ของนิติบุคคลอยางไร คงพิสูจนแตเพียงวานิติบุคคลกระทําความผิดตามกฎหมายดังกลาว และจําเลย
               เปนกรรมการผูจัดการ ผูจัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นทั้งหมดทุกคน

               อันเปนการอาศัยสถานะของบุคคลมาเปนเงื่อนไขความรับผิดทางอาญา โดยไมตองมีการพิสูจนเจตนาหรือ
               การมีสวนรวมในการกระทําผิดนั้น ศาลรัฐธรรมนูญไดมีคําวินิจฉัยที่ ๑๒/๒๕๕๕ ที่ ๕/๒๕๕๖ ที่ ๑๐/๒๕๕๖
               ที่ ๑๑/๒๕๕๖ และที่ ๑๙ - ๒๐/๒๕๕๖ วินิจฉัยวา บทบัญญัติแหงกฎหมายที่สันนิษฐานความผิดของ

               ผูตองหาและจําเลยในคดีอาญาโดยอาศัยสถานะของบุคคลเปนเงื่อนไขนั้น มิใชการสันนิษฐานขอเท็จจริง
               ที่เปนองคประกอบความผิดเพียงบางขอหลังจากที่โจทกไดพิสูจนใหเห็นถึงการกระทําอยางใดอยางหนึ่ง
               ที่เกี่ยวของกับความผิดที่จําเลยถูกกลาวหา และยังขัดกับหลักนิติธรรม ขอที่วาโจทกในคดีอาญาตองมี
               ภาระการพิสูจนถึงการกระทําความผิดของจําเลยใหครบองคประกอบของความผิด นอกจากนี้ บทบัญญัติ
               ที่มีขอสันนิษฐานดังกลาวยังเปนการนําบุคคลเขาสูกระบวนการดําเนินคดีอาญาใหตองตกเปนผูตองหา

               และจําเลย ซึ่งทําใหบุคคลดังกลาวอาจถูกจํากัดสิทธิและเสรีภาพ เชน การถูกจับกุม หรือคุมขัง โดยไมมี


                              13  หลัก Due Process of Law หรือ นิติกระบวน หมายถึง การปกครองโดยกฎหมาย ทุกคนตองอยูภายใตบังคับ
               แหงกฎหมายไมวาจะเปนผูปกครอง เจาหนาที่ของรัฐ ตองกระทําการโดยชอบดวยกฎหมาย ทุกคนมีความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25