Page 23 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 23
๒๑
มาประกอบการพิจารณาความรับผิดหลังจากที่โจทกไดมีการพิสูจนพยานหลักฐานแลว หลักความรับผิด
ของผูแทนนิติบุคคลหรือผูบริหารนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงสอดคลองกับขอสันนิษฐานที่วา
“ผูตองหาหรือจําเลยในคดีอาญาเปนผูบริสุทธิ์” (presumption of innocence) ตามที่บัญญัติไวใน
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง ที่ไดรับการรับรองและ
คุมครองตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเปนขอสันนิษฐาน
อันมีที่มาจากหลักสิทธิมนุษยชน ดังที่ปรากฏอยูในปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน (Universal
Declaration of Human Rights) ขอ ๑๑ ที่วา “บุคคลซึ่งถูกกลาวหาวามีความผิดอาญามีสิทธิที่จะไดรับ
การสันนิษฐานไวกอนวาบริสุทธิ์ จนกวาจะมีการพิสูจนวามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาโดยเปดเผย
และผูนั้นไดรับหลักประกันทั้งหลายที่จําเปนในการตอสูคดี” ประกอบกับและกติการะหวางประเทศ
วาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights :
ICCPR) ขอ ๑๔.๒ ที่วา “บุคคลทุกคนซึ่งตองหาวากระทําผิดอาญา ตองมีสิทธิไดรับการสันนิษฐานวาเปน
ผูบริสุทธิ์จนกวาจะพิสูจนตามกฎหมายไดวามีความผิด” อันถือเปนหลักการพื้นฐานของระบบงานยุติธรรม
ทางอาญาสากลที่วา “บุคคลทุกคนมิใชผูกระทําความผิดอาญา เพื่อเปนหลักประกันแหงสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคลเกี่ยวกับความรับผิด ทางอาญาที่รัฐใหการรับรองแกบุคคลทุกคนที่จะไมถูกลงโทษทางอาญา
จนกวาจะมีพยานหลักฐานมาพิสูจนไดวาเปนผูกระทําความผิด” และเปนหลักการที่สําคัญประการหนึ่ง
ของหลักนิติธรรม (The Rule of Law) ที่ไดรับการยอมรับในนานาอารยประเทศ
ขอสังเกต อยางไรก็ตามยังมีกฎหมายบางฉบับที่บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญา
ของนิติบุคคลและผูแทนนิติบุคคลที่มีบทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผูแทนนิติบุคคลใหตองรับผิด
ทางอาญารวมกับนิติบุคคล โดยโจทกไมจําตองพิสูจนการกระทําของผูแทนนิติบุคคลที่ตกเปนจําเลย
ในลักษณะเดียวกับกฎหมายจํานวน ๗๖ ฉบับดังกลาว แตยังไมไดรับการแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ ไดแก รางพระราชบัญญัติคุมครองขอมูลสวนบุคคล พ.ศ. .... มาตรา ๕๒ ที่ปจจุบันยังอยูระหวาง
การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแหงชาติ เปนตน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติไดมี
ขอเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย เสนอตอคณะรัฐมนตรี โดยธนาคารแหงประเทศไทย กระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักนายกรัฐมนตรี (สํานักงานคณะกรรมการขอมูลขาวสาร
ของราชการ) สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหนวยงานอื่นที่เกี่ยวของ เพื่อพิจารณาทบทวน
กฎหมายดังกลาว เนื่องจากเปนบทบัญญัติที่ขัดหรือแยงตอรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง ในลักษณะทํานองเดียวกับกฎหมายทั้ง ๗๖ ฉบับ (ตามรายงานผลการพิจารณา
ที่ ๓๑๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗) ดังนั้น จึงเห็นควรติดตามการพิจารณาแกไขปรับปรุง
กฎหมายดังกลาวใหสอดคลองกันทั้งระบบตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม
อนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ในสวนของความรับผิดทางอาญาของผูบริหารนิติบุคคล
หรือผูแทนนิติบุคคล กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกามักจะบัญญัติในลักษณะที่ผูบริหารนิติบุคคล
จะตองรับผิด เพียงแคมีสวน “รูเห็น” ในการกระทําความผิดของนิติบุคคล โดยไมถึงขนาดตอง “ลงมือ”
กระทําความผิด เชนเดียวกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ 15
15 วงศศิริ ศรีรัตน เทียนฤทธิเดช. ความรับผิดทางอาญาของผูบริหารนิติบุคคล, วารสารนิติศาสตร ปที่ ๒๓ ฉบับที่ ๓
(กรุงเทพ : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๓๘) น. ๕๕๒ - ๕๖๒