Page 25 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 25
๒๓
บันทึกความเห็นทางกฎหมาย
ตอรางพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....”
๑. ความเปนมา
เมื่อวันอังคารที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ กรมกิจการเด็กและเยาวชน โดยคณะอนุกรรมการ
ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กใหเปนไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาวาดวยสิทธิเด็ก
และองคการทุนเพื่อเด็กแหงสหประชาชาติ (UNICEF) ประเทศไทย ไดจัดการเสวนารับฟงความคิดเห็น
เรื่อง “รางพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยแบงการพิจารณา
เปน ๔ ประเด็นหลัก ไดแก
๑.) การแกไขบทบัญญัติเกณฑอายุขั้นต่ําในการรับผิดทางอาญา (มาตรา ๗๓)
๒.) เพิ่มฐานความผิดซื้อขายเด็กและฐานความผิดลักพาเด็ก (มาตรา ๓๒๐/๑ – ๓๒๐/๓)
๓.) การกําหนดเพิ่มอายุความในกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ (มาตรา ๙๕/๑)
๔.) เพิ่มเงื่อนไขในการรองทุกข (มาตรา ๙๖ วรรคสอง)
๒. ขอคิดเห็นและขอเสนอแนะ
๒.๑ เกี่ยวกับหลักการและเหตุผลของ “รางพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเด็นที่ ๑ การแกไขบทบัญญัติเกณฑอายุขั้นต่ําในการรับผิดทางอาญา (มาตรา ๗๓)
ปจจุบันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๓ กําหนดวา “เด็กอายุยังไมเกินสิบป
กระทําการอันกฎหมายบัญญัติเปนความผิด เด็กนั้นไมตองรับโทษ..." ซึ่งเปนการกําหนดเกณฑอายุของเด็ก
ในกรณีที่เด็กกระทําความผิดทางอาญาที่ยังไมเหมาะสมและยังไมสอดคลองกับอนุสัญญาวาดวยสิทธิเด็ก
อีกทั้ง การศึกษาทางการแพทยแสดงใหเห็นวาเด็กที่มีอายุระหวาง ๗ ปถึง ๑๒ ป มีพัฒนาการดานความคิด
สติปญญาและจริยธรรมยังไมสมบูรณ ขาดความรูสึกผิดชอบชั่วดีและไมสามารถคาดการณผลที่จะเกิดขึ้น
จากการกระทําของตนได จึงไดแกไขเพิ่มอายุขั้นต่ําในการรับผิดทางอาญาจาก ๑๐ ปเปน ๑๒ ป ดังนี้
“มาตรา ๗๓ เด็กอายุยังไมเกินสิบสองป กระทําการอันกฎหมายบัญญัติเปนความผิด เด็กนั้นไมตองรับโทษ
...”
เห็นวา กรณีที่เด็กหรือเยาวชนเปนผูกระทําผิดแลว กฎหมายเห็นวาพวกเขาเหลานี้อาจมี
ความรูสึกผิดชอบอยางจํากัด ไมเหมือนกับผูใหญกระทําความผิด ดังนั้น กฎหมายอาญาจึงกําหนด
เรื่องความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนไวเปนกรณีพิเศษ โดยเฉพาะในบางกรณีแมการกระทํา
ของเด็กจะเปนความผิด แตกฎหมายอาจไมเอาโทษเลยก็ได ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาไดแบงกลุมอายุ
ของเด็กและเยาวชนที่กระทําความผิดไวดังนี้