Page 22 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 22

๒๐



               สิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลซึ่งตกเปนผูตองหาหรือจําเลยในคดีอาญามิใหตองตกอยูในฐานะเปน
               ผูกระทําผิดกอนที่จะไดรับการพิสูจนความผิดจากโจทก โดยใหสันนิษฐานไวกอนวา ผูตองหาหรือจําเลย

               ไมมีความผิดจนกวาจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดวาเปนผูกระทําความผิด ตามที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ
               แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง ประกอบรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
               (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน ขอ ๑๑ และกติกา
               ระหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ขอ ๑๔.๒ รวมถึงหลักนิติธรรม (The Rule of
               Law)


                              ๒.๓ ประเด็นดานสิทธิมนุษยชน
                             พิจารณาแลวเห็นวา พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแหงกฎหมายที่เกี่ยวกับ

               ความรับผิดในทางอาญาของผูแทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐ มีเนื้อหาสาระที่บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญา
               ของผูบริหารนิติบุคคล ไดแก กรรมการผูจัดการ หรือผูจัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงาน
               ของนิติบุคคล  ใหมีความชัดเจนยิ่งขึ้น คือตองปรากฏวาบุคคลดังกลาวมีสวนรวมในการกระทําความผิด

               ของนิติบุคคลโดยกระทําการหรือสั่งการอยางใดอยางหนึ่ง หรือมีหนาที่ตองสั่งการหรือกระทําการอยางใด
               แลวละเวนไมสั่งการหรือไมกระทําการ จนเปนเหตุใหนิติบุคคลกระทําความผิดอาญา จึงตองรับผิดรวมกับ
               นิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อสังคมพัฒนาและเศรษฐกิจเจริญกาวหนามากขึ้น การประกอบธุรกิจ
               มักนิยมกระทํากันในรูปนิติบุคคล หากนิติบุคคลกระทําความผิด ความเสียหายที่จะเกิดแกสังคมยอมจะมี

               มากกวาความผิดที่เกิดจากผูประกอบธุรกิจซึ่งลงทุนโดยบุคคลเพียงคนเดียว เนื่องจากนิติบุคคลประกอบขึ้น
               ดวยการรวมทุนของบุคคลหลายคนและเปนองคกรใหญนั่นเอง ซึ่งปจจุบันเปนที่ยอมรับวา นิติบุคคล
               สามารถรับผิดทางอาญาได และกฎหมายไทยหลายฉบับไดบัญญัติความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลไว
               แตโทษที่จะลงแกนิติบุคคลนั้น มีเพียงโทษปรับหรือริบทรัพยเทานั้น ซึ่งบางครั้งหากเปรียบเทียบกัน

               ระหวางประโยชนที่นิติบุคคลจะไดรับกับความเสี่ยงที่จะถูกดําเนินคดีแลว นิติบุคคลก็อาจเลือกที่จะกระทํา
               ความผิด หากเปนเชนนี้จะทําใหการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการกระทําความผิด
               ของนิติบุคคลไมไดผล เนื่องจากนิติบุคคลเปนบุคคลสมมติตามกฎหมาย ผูที่กระทําการแทนนิติบุคคล
               คือบุคคลธรรมดา และเมื่อนิติบุคคลกระทําความผิดทางอาญาโดยแทจริงแลวบุคคลธรรมดาซึ่งเปน

               ผูกระทําการแทนหรือเปนผูบริหารนิติบุคคลนั้นตองมีสวนรวมในการกระทํานั้นดวยทุกครั้ง เวนแตมิได
               สั่งการหรือมิไดอยูรวมในการประชุมเพื่อพิจารณามีมติใหกระทําการนั้น และไมมีหนาที่ตองสั่งการ
               หรือกระทําการอยางใดเพื่อปองกันการกระทําความผิดทางอาญา ฉะนั้น เพื่อใหไดผลในการยับยั้งมิให

               นิติบุคคลกระทําผิดกฎหมายจึงบัญญัติความรับผิดของผูบริหารนิติบุคคลเหลานั้นดวย การบัญญัติ
               กฎหมายในลักษณะนี้ จะทําใหเฉพาะผูบริหารนิติบุคคลที่มีสวนรูเห็นเปนใจหรือเปนผูลงมือกระทํา
               ความผิดหรือมีสวนเกี่ยวของกับการกระทําความผิดเทานั้นที่จะตองรับผิดรวมกับนิติบุคคล เสมือนวา
               ผูบริหารนิติบุคคลเปนตัวการหรือผูใชใหนิติบุคคลกระทําความผิด และโจทกมีภาระการพิสูจนความผิด
               ของจําเลย ตางจากหลักกฎหมายเดิมที่มีบทสันนิษฐานใหผูบริหารนิติบุคคลตองรวมรับผิดกับนิติบุคคล

               เสมอ เวนแตจะพิสูจนไดวามิไดรูเห็นเปนใจ โดยโจทกไมตองพิสูจนถึงการกระทําของผูบริหารนิติบุคคล
               ที่ตกเปนจําเลย ซึ่งเปนความรับผิดจากการกระทําของบุคคลอื่น และเปนการนําสถานะของบุคคลมาเปน
               เงื่อนไขของความรับผิดทางอาญา ทั้งที่ควรตองนําเอาขอเท็จจริงหรือการกระทําของผูบริหารนิติบุคคล
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27