Page 24 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 24

๒๒



                              ๒.๔ อื่นๆ

                              ความรับผิดของผูแทนนิติบุคคลหรือผูบริหารนิติบุคคล เกิดจากแนวความคิดที่ถือวา
               แมนิติบุคคลจะเปนบุคคลสมมติตามกฎหมาย ซึ่งโดยสภาพของนิติบุคคลแลวไมสามารถแสดงเจตนาและ
               ลงมือกระทําความผิดทางอาญาไดโดยลําพังตนเอง จะตองมีบุคคลธรรมดาซึ่งเปนผูมีอํานาจกระทําการ

               ผูกพันนิติบุคคลเปนผูแสดงเจตนาและลงมือกระทําความผิด จึงถือวาผูบริหารนิติบุคคลที่สั่งการหรือ
               กระทําการแทนนิติบุคคล เปนผูกระทําความผิดที่แทจริง แตอยางไรก็ตาม การกระทําความผิดทางอาญา
               ของผูบริหารนิติบุคคล ซึ่งกระทําการแทนนิติบุคคลและตองรับผิดทางอาญารวมกับนิติบุคคล อาจมีเหตุจูงใจ

               ที่แตกตางกัน และมีความซับซอนดวยเหตุผลทางเศรษฐกิจ โครงสรางการบริหารงานของนิติบุคคล
               และประเภทองคกรทางธุรกิจซึ่งเปนเรื่องที่เกี่ยวของกับกฎหมายเศรษฐกิจ เรื่องความรับผิดทางอาญา
               ของผูแทนนิติบุคคล จึงถือเปนเรื่องใหม และเปนพัฒนาการทางกฎหมายของไทย ซึ่งยังมีความเห็น
               ทางวิชาการที่แตกตางกัน ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพบังคับทางอาญาที่จะบังคับกับนิติบุคคล
               แนวความคิดที่คํานึงถึงนโยบายทางอาญา แนวความคิดเกี่ยวกับโทษทางอาญา วัตถุประสงคในการลงโทษ

               ทางอาญา และการใชสภาพบังคับทางอาญาในรูปแบบอื่นๆ เพื่อประกอบการศึกษาและสามารถนํามาปรับ
               ใชกับหลักความรับผิดทางอาญาของผูแทนนิติบุคคลใหมีความชัดเจนและเปนธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ
               การพิจารณาบทลงโทษและอัตราโทษที่เหมาะสมกับความหนักเบา ของการกระทําผิดและผลกระทบ

               ตอสังคม จะชวยใหเกิดความสมดุลระหวางการสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชน ดานสิทธิเสรีภาพ
               ของประชาชนที่ถูกดําเนินคดีเนื่องจากการกระทําผิดของนิติบุคคลกับการปองกันอาชญากรรมที่เกิดโดย
               นิติบุคคลภาคธุรกิจและผูบริหารนิติบุคคล รวมทั้งจะสงผลดีตอระบบเศรษฐกิจและความมั่นคง
               ของประเทศไดอีกทางหนึ่ง เชน ศึกษาเรื่องความเปนไปไดที่ศาลอาจใชวิธีการอื่นรวมดวยในการลงโทษ

               แกนิติบุคคล โดยอาจพิจารณาใชมาตรการเพื่อความปลอดภัย กลาวคือ การเรียกประกันทัณฑบน
               และการหามนิติบุคคลประกอบธุรกิจบางอยางในชวงเวลาหนึ่ง เปนตน เพื่อปองกันมิใหนิติบุคคลกระทํา
               ความผิด หรือมีสวนรวมในการกระทําความผิด หรือกลับมากระทําความผิดอีก แทนที่จะมุงไปเพิ่มโทษ
               หรือกําหนดบทลงโทษทางอาญาแกผูบริหารนิติบุคคลที่บางครั้งอาจมิไดมีสวนรูเห็นกับการกระทําผิด

               แตอาจหละหลวมในเชิงปองกันการกระทําความผิดที่ไมอาจทราบไดก็เปนได


                                                                                   สํานักกฎหมายและคดี
                                                                                      กุมภาพันธ ๒๕๖๐
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29