Page 14 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 14
๑๒
2. รางพระราชบัญญัติวาดวยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหวางประโยชนสวนบุคคลและประโยชน
สวนรวม พ.ศ. ....
ในภาพรวมเห็นดวยกับหลักการของรางพระราชบัญญัติฯ แตมีขอสังเกตและขอเสนอแนะ
เพิ่มเติม ดังนี้
1) เกี่ยวกับบทบัญญัติในรางพระราชบัญญัติ
1.1 บทนิยามในมาตรา 3 คําวา “ญาติ” ที่กําหนดใหมีความเกี่ยวพันโดยทางนิตินัย
หรือพฤตินัย เห็นวาเปนการตรากฎหมายที่อาจทําใหเกิดการตีความและบังคับใชไดอยางกวางขวาง
โดยเฉพาะกรณีญาติที่เปนบุตรบุญธรรมหรือผูรับบุตรบุญธรรมของเจาหนาที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามกฎหมาย
แพงและพาณิชยวาดวยครอบครัว ไดกําหนดใหการรับบุตรบุญธรรมตองมีการจดทะเบียนซึ่งยอมมีผลในทาง
กฎหมาย (นิตินัย) หากตีความการรับบุตรบุญธรรมในสังคมชนบทโดยพฤตินัยอาจรวมถึงการเลี้ยงดูหรือ
การดูแลเด็กโดยบุคคลที่มีความสัมพันธเชิงเครือญาติหรือคนใกลชิดที่ไมมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
แพงและพาณิชยวาดวยครอบครัว ซึ่งอาจสงผลใหบุคคลดังกลาวอยูในขอบขายของความเปนญาติ
โดยพฤตินัยได ดังนั้น ควรพิจารณาตัดถอยคําที่กําหนดถึงความเกี่ยวพันโดยทางนิตินัยหรือพฤตินัยออก
1.2 โดยที่รางพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติถึงการกระทําความผิดเกี่ยวกับการขัดกัน
ระหวางประโยชนสวนบุคคลกับประโยชนสวนรวมเปนกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา แตในสวน
การกําหนด บทนิยามกลับไมปรากฏความหมายของคําวา “ประโยชนสวนบุคคล” กับ “ประโยชน
สวนรวม” แตอยางใด และอาจสงผลใหการตีความบทบัญญัติตางๆ ที่ตองคํานึงถึง “ประโยชนสวนบุคคล”
กับ “ประโยชนสวนรวม” ขาดกรอบและแนวทางการพิจารณาตามเจตนารมณแหงกฎหมายที่ชัดเจน
1.3 มาตรา ๕ วรรคสอง (๖) ที่กําหนดใหการใชตําแหนงหรืออํานาจหนาที่ซึ่งเจาหนาที่
ของรัฐซึ่งมีอยูโดยทุจริต ไปมีอิทธิพลตอการตัดสินใจโดยอิสระในการใชอํานาจตามตําแหนงหนาที่ของรัฐ
ซึ่งดํารงตําแหนงอื่นไมวาทางตรงหรือทางออม เพื่อใหเจาหนาที่ของรัฐนั้นกระทําหรือไมกระทําการ
อยางใดอยางหนึ่ง และมาตรา ๕ วรรคสอง (๖) (ช) คณะกรรมการ ป.ป.ช. สามารถประกาศกําหนดลักษณะ
การกระทําหรือไมกระทําการอื่นเพิ่มเติมได เห็นวา การประกาศกําหนดลักษณะการกระทําหรือไมกระทํา
การอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาความรับผิดทางอาญาขางตนมีลักษณะเปนการบัญญัติลักษณะ
ความผิดทางอาญาขึ้นใหม ซึ่งอาจมีผลกระทบตอสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอันเปนการไมสอดคลองกับ
หลักการบัญญัติกฎหมายอาญาที่กฎหมายลักษณะนี้ตองตราโดยองคกรนิติบัญญัติ และตองมีความชัดเจน
ใหบุคคลทั่วไปสามารถเขาใจและคาดหมายไดวาการกระทําหรือไมกระทําการอื่นใดนั้นจะมีความรับผิด
ทางอาญา
1.4 มาตรา ๕ วรรคสาม ที่กําหนดใหการกระทําตามมาตรา ๕ วรรคสอง (๑) (๒) (๓)
และ (๔) จะใชบังคับกับเจาหนาที่ของรัฐตําแหนงใดใหเปนไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกําหนด
เห็นวา เปนการกําหนดอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่กวางเกินไปและไมมีกรอบในการพิจารณา
วาตําแหนงลักษณะใดสมควรกําหนดใหตองรับผิดหากไดกระทําตามมาตรา ๕ วรรคสอง (๑) (๒) (๓) และ
(๔) ทั้งนี้ ดวยเหตุที่บทบัญญัตินี้มีเนื้อหาอันเกี่ยวของกับการพิจารณาองคประกอบความรับผิดทางอาญา