Page 10 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 10
๘
Principle on Business and Human Rights) ใหแนวทางวารัฐตองผูกพันในการดําเนินการเพื่อปองกัน
การละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องจากธุรกิจ ซึ่งการจัดซื้อจัดจางภาครัฐก็เปนเรื่องหนึ่งที่รัฐควรให
ความสําคัญในการดําเนินการดังกลาว
การจัดซื้อจัดจางภาครัฐ มีประเด็นดานสิทธิมนุษยชนเนื่องจากอาจเปดโอกาสให
เสี่ยงตอการละเมิดสิทธิมนุษยชนได เชน การกอใหเกิดผลกระทบดานสิ่งแวดลอมและสุขภาพ และการจาง
แรงงานที่ไมเปนธรรม เปนตน จึงควรผนวกประเด็นดานสิทธิมนุษยชนในการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ รวมทั้ง
การกํากับดูแลผูประกอบการที่เปนหวงโซอุปทานของผูประกอบการที่เปนคูสัญญาและการแปรรูปบริการ
ภาครัฐใหเอกชนดําเนินการดวย ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดปรากฏตามขอเสนอในขอ 3)
2) เกี่ยวกับบทบัญญัติในรางพระราชบัญญัติ
2.1 มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง ควรเพิ่มขอความ “ตองไมมีประวัติการทุจริต” ดังนี้
“มาตรา ๑๘ ผูประกอบการที่อยูในประเภทหรือมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจางตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท.
ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา และประสงคจะเขายื่นขอเสนอกับหนวยงานของรัฐในการจัดซื้อ
จัดจางตามพระราชบัญญัตินี้ ตองไมมีประวัติการทุจริต และตองจัดใหมีนโยบายในการปองกันการทุจริต
และมีแนวทางปองกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจางที่เหมาะสม”
2.๒ อํานาจหนาที่ของคณะกรรมการ ค.ป.ท. ในการประกาศกําหนดประเภท
ผูประกอบการหรือวงเงินในการจัดซื้อจัดจาง ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ยังไมปรากฏชัดเจนวาอยูในอํานาจ
หนาที่ขอใดของคณะกรรมการ ค.ป.ท. ตามมาตรา 39
2.๓ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณและขอรองเรียน ตามมาตรา 41 ควรประกอบดวย
กรรมการที่เปนผูทรงคุณวุฒิที่มีความเปนอิสระ ไมควรเปนขาราชการประจํา และตองเปนบุคคลที่ไดรับ
การยอมรับจากประชาชนในแงคุณธรรมและจริยธรรมในการทําหนาที่ ไมใชกรรมการที่เปนเจาหนาที่รัฐ
โดยตําแหนงหรือนักธุรกิจเอกชน ทั้งนี้ เพื่อใหเกิดความเปนกลางในการวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับ
การไมปฏิบัติตามแนวทางของพระราชบัญญัติฯ เชน ถาเจาหนาที่ของรัฐเปนผูวินิจฉัยประเด็นการไมทํา
หนาที่ของเจาหนาที่รัฐเองก็จะเกิดประเด็นความขัดแยงทางผลประโยชน ดังนั้น ตองกําหนดให
คณะกรรมการดังกลาว เปนคณะกรรมการที่มีอิสระไมสามารถถูกแทรกแซงจากฝายการเมืองหรือ
กลุมอาชีพตางๆ ได เพื่อทําหนาที่พิจารณาอุทธรณและขอรองเรียนไดอยางเต็มที่ เชน คณะกรรมการ
พิทักษระบบคุณธรรม ซึ่งทําหนาที่พิจารณาเรื่องอุทธรณผลการลงโทษทางวินัยของขาราชการพลเรือน
(ก.พ.) เปนตน
2.๔ มาตรา 65 วรรคสอง ควรเพิ่มเติมขอความ “ไมมีสวนในการกอผลกระทบ
ดานสิทธิมนุษยชน” ดังนี้ “พัสดุที่รัฐตองการสงเสริมหรือสนับสนุนตาม (๔) ใหเปนไปตามที่กําหนด
ในกฎกระทรวง ซึ่งอยางนอยตองสงเสริมหรือสนับสนุนพัสดุที่สรางนวัตกรรมหรือพัสดุที่อนุรักษพลังงาน
หรือสิ่งแวดลอม และไมมีสวนในการกอผลกระทบดานสิทธิมนุษยชน”
เนื่องจากตามหลักการชี้แนะวาดวยเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตามกรอบงาน
ขององคการสหประชาชาติในการคุมครอง เคารพ เยียวยา (Guiding Principles on Business and