Page 303 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 303
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๔.๕.๑.๗ การสร้างภาพเหมารวม (Stereotyping)
แนวคิดหรือทัศนคติของสังคมที่ส่งผลให้เกิดกำรปฏิบัติอันน�ำไปสู่ควำมไม่เสมอภำคหรือควำม
ไม่เท่ำเทียมกันก็คือ กำรปฏิบัติต่อบุคคลนั้นบนพื้นฐำนของกลุ่มที่บุคคลนั้นเกี่ยวข้อง โดยกำรสร้ำง “ภำพมำตรฐำน”
(Standard Image) หรือแนวคิดมำตรฐำนส�ำหรับบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่ง แล้วปฏิบัติต่อบุคคลทั้งหมดที่จัด
176
อยู่ในประเภทนั้นเหมือนกัน โดยไม่ค�ำนึงถึงควำมแตกต่ำงในระดับปัจเจกชนของแต่ละคนในกลุ่ม ภำพมำตรฐำน
ดังกล่ำวนี้อำจเรียกว่ำ ภำพเหมำรวม “Stereotype” ซึ่งมีควำมสัมพันธ์กับอคติ (Prejudice) และกำรเลือกปฏิบัติ
177
(Discrimination) กล่ำวคือ ภำพเหมำรวมอำจเกิดขึ้นโดยปรำศจำกส�ำนึกของบุคคล โดยมีอคติเป็นส่วนประกอบอัน
หนึ่ง ส�ำหรับกำรเลือกปฏิบัตินั้นจัดเป็นส่วนประกอบเชิงพฤติกรรมของปฏิกิริยำอันมีอคตินั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ภำพ
เหมำรวมสะท้อนถึงควำมคำดหมำยและควำมเชื่อเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของบุคคลในกลุ่ม โดยอคติแสดงถึง
กำรตอบสนองทำงอำรมณ์ต่อควำมเชื่อดังกล่ำว ในขณะที่กำรเลือกปฏิบัติเป็นกำรแสดงออกเชิงพฤติกรรมหรือกำรกระท�ำ
178
ของภำพเหมำรวมนั้น โดยนัยนี้จะเห็นได้ว่ำ กำรเลือกปฏิบัติเป็นผลอันแสดงให้เห็นอย่ำงเป็นรูปธรรมจำกพฤติกรรม ซึ่ง
สำเหตุของพฤติกรรมดังกล่ำวเกี่ยวข้องกับภำพเหมำรวมอันเป็นปัจจัยภำยในด้ำนควำมเชื่อหรือทัศนคติของบุคคลนั่นเอง
เนื่องจำกภำพเหมำรวม ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมอันเป็นกำรเลือกปฏิบัติ ดังนั้น กำรปฏิบัติอัน
น�ำไปสู่ควำมเท่ำเทียมหรือควำมเสมอภำคที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นกำรปฏิบัติต่อบุคคลในฐำนะปัจเจกบุคคล มิใช่ปฏิบัติ
ต่อบุคคลนั้นในฐำนะส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น กล่ำวคือ ต้องแยกกำรพิจำรณำคุณสมบัติส่วนบุคคลออก
จำกคุณสมบัติในภำพรวมของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ตัวอย่ำงเช่น กำรปฏิบัติต่อผู้หญิงโดยมีภำพเหมำรวมว่ำเป็น
เพศที่อ่อนแอ ดังนั้น จึงปฏิบัติต่อผู้หญิงทุกคนบนพื้นฐำนแนวคิดดังกล่ำว ซึ่งหำกพิจำรณำในระดับปัจเจกบุคคลแต่ละคน
179
แล้ว ผู้หญิงบำงคนอำจมีควำมแข็งแรงกว่ำผู้ชำยบำงคนก็ได้ นอกจำกเป็นสำเหตุของกำรเลือกปฏิบัติแล้ว ภาพเหมา
รวมยังอาจเป็นสาเหตุของความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมได้ ดังจะเห็นได้จาก Amartya Sen ซึ่งไม่เห็นด้วยกับ
แนวคิดหรือความเชื่อว่าบุคคลในโลกอาจจัดประเภทตามสูตรอย่างง่าย ๆ (Simple Formula) บางอย่าง เช่น เชื่อมโยง
ความรุนแรงว่าเกิดขึ้นจากคุณลักษณะของบุคคลบางกลุ่ม เช่น การเป็นชาวมุสลิมมิได้หมายถึงว่าจะต้องมีลักษณะหรือ
180
คุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักรบหรือการต่อสู้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่ำ แนวคิด ควำมเชื่อ ทัศนคติ ในลักษณะของภำพเหมำรวม เป็นสำเหตุ
ส�ำคัญอันหนึ่งซึ่งน�ำไปสู่พฤติกรรมกำรเลือกปฏิบัติ อันก่อให้เกิดควำมไม่เสมอภำคหรือควำมไม่เท่ำเทียมกันในท้ำยที่สุด
ตัวอย่ำงของทัศนคติที่มีพื้นฐำนจำกกำรสร้ำงภำพเหมำรวม เช่น กำรเป็นลูกจ้ำงเพศหญิงจะเกี่ยวข้องกับกำรตั้งครรภ์ กำร
เลี้ยงดูบุตร ฯลฯ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่องำน กำรเป็นบุคคลหลำกหลำยทำงเพศจะน�ำไปสู่กำรมีโรคทำงเพศสัมพันธ์ กำรมี
176 Ibid.
177 From Handbook of Social Psychology “Stereotyping, Prejudice, and Discrimination, Susan T. Fiske
(p 35)” Volume Two (4 ed.), eds. Daniel T. Gilbert, Susan T Fiske, Gardner Lindzey, 1998, McGraw-Hill Massachusetts:
th
Boston
178 From The Corsini Encyclopedia of Psychology Florence L. Denmark, “Prejudice and Discrimination by
Florence L. Denmark (p 1277)” Volume Three (4 ed.), eds. By Irving B. Weiner and Edward W. Craighead, 2010, John
th
Willey , NJ : Hoboken
179 Discrimination and the law. Loc. cit.
180 From Identify and Violence: The Illusion of Destiny by Amartya Sen, 2006, U.S.: W. W. Norton &
Company
302