Page 211 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 211
สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ก็เช่นเดียวกัน การที่สำานักผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะรับคำาร้องไว้พิจารณา ต้องเป็นคำาร้องที่แม้จะยื่น
เกิน 90 วัน แต่ก็ยังอยู่ในระยะเวลาอันสมควรที่ไม่ยาวนานจนเกินไป มิใช่เปิดรับพิจารณาคำาร้องที่เกินระยะเวลา
ทุกคำาร้องอย่างไม่สิ้นสุด อันอาจก่อให้เกิดปัญหาการจัดทำาผังเมืองล่าช้า เหมือนเช่นกรณีตัวอย่างผังเมืองรวม
จังหวัดสมุทรสงครามได้
นอกจากนี้ กรณีการยื่นคำาร้องเมื่อพ้นกำาหนดระยะเวลาดังกล่าว มีบทบัญญัติตามกฎหมายที่
สามารถนำามาเทียบเคียงได้ กล่าวคือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งมีสาระ
สำาคัญ คือ
มาตรา 65 ระยะเวลาที่กำาหนดไว้ในคำาสั่งของเจ้าหน้าที่อาจมีการขยายอีกได้
ถ้าระยะเวลานั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว เจ้าหน้าที่อาจขยายโดยกำาหนดให้มีผลย้อนหลังได้เช่นกัน
ถ้าการสิ้นสุดตามระยะเวลาเดิมจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมที่จะให้สิ้นสุดตามนั้น
มาตรา 66 ในกรณีที่ผู้ใดไม่อาจกระทำาการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายในระยะเวลาที่
กำาหนดไว้ในกฎหมายได้ เพราะมีพฤติการณ์ที่จำาเป็นอันมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของผู้นั้น
ถ้าผู้นั้นมีคำาขอ เจ้าหน้าที่อาจขยายระยะเวลาและดำาเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดที่ล่วงมาแล้ว
เสียใหม่ก็ได้...
จากสาระสำาคัญของบทบัญญัติข้างต้น จะเห็นได้ว่า ระยะเวลาที่กฎหมายกำาหนดไว้อาจขยายได้
ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ขยายเองหรือกรณีที่มีผู้ร้องขอ ซึ่งในกรณีการยื่นคำาร้องเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงร่างผังเมือง
ที่ถือเป็นระยะเวลาเร่งรัดนี้ แม้มิได้มีการยื่นคำาร้องภายในกำาหนดระยะเวลา 90 วัน ตามกฎหมาย แต่หาก
ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีพฤติการณ์ที่จำาเป็น เช่น การที่ผู้ยื่นคำาร้องไม่ทราบเรื่องการจัดทำาผังเมืองในพื้นที่และ
ไม่ทราบถึงระยะเวลาที่เปิดโอกาสให้ยื่นคำาร้องมาก่อนเช่นนี้ เจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจในการรับคำาร้องย่อมมี
อำานาจที่จะรับคำาร้องที่ยื่นเกินระยะเวลาดังกล่าวไว้พิจารณาได้ อย่างไรก็ตามเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าอันอาจ
เป็นอุปสรรคต่อการดำาเนินการจัดทำาผังเมืองในขั้นตอนต่อไป สำานักผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ควรกำาหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นกรอบในการพิจารณารับคำาร้องที่ยื่นเกิน 90 วัน ไว้ล่วงหน้า
5.2 สิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในช่วงระหว่างรอประกาศบังคับใช้
นับตั้งแต่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำาหนดเขตที่ดินที่จะทำาการสำารวจ เพื่อการวางและจัดทำา
ผังเมืองรวมในท้องที่ 72 จังหวัด พ.ศ. 2546 กระทั่งถึงปัจจุบัน พบว่ายังมีผังเมืองรวมจำานวนมากที่ยังไม่มี
การประกาศบังคับใช้ ซึ่งประเด็นปัญหาของกระบวนการผังเมืองช่วงระหว่างรอประกาศบังคับใช้ กรณีนี้
หมายความถึงกระบวนการจัดทำาผังเมืองได้ดำาเนินการผ่านขั้นตอนการมีมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถือว่าผังเมืองมีความแน่นอนในระดับหนึ่งแล้ว หากแม้จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ไม่กระทบต่อสาระสำาคัญของผังเมือง
210