Page 210 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 210
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้วางและจัดทำาผังเมืองรวมนั้น ร้องขอให้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำาหนดเกี่ยวกับการใช้
ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมนั้น...ให้สำานักผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วแต่กรณี เสนอคำาร้องนั้น
ต่อคณะกรรมการผังเมือง...” และตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคำาร้องของผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำาร้องขอให้แก้ไข
หรือเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำาหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวม ข้อ 3 กำาหนดให้
ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำาร้องขอให้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อกำาหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ของผังเมืองรวมนั้น ภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 กำาหนดไว้
ประเด็นปัญหาในการยื่นคำาร้องของผู้มีส่วนได้เสีย ที่ยื่นเมื่อพ้นกำาหนดระยะเวลา 90 วัน มาพิจารณา
คือทำาให้กระบวนการจัดทำาผังเมืองล่าช้าออกไป โดยอาจส่งผลกระทบต่อการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้
ตัวอย่างเช่น กรณีศึกษาผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีการดำาเนินการจัดทำาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และ
จัดทำามาถึงขั้นตอนการปิดประกาศ 90 วัน และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำาร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ร่างผังเมือง แต่ปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่ามีการยื่นคำาร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงร่างผังเมือง หลังพ้น
กำาหนดระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โดยประเด็นปัญหา
กรณีนี้ คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภามีความเห็นว่า การยื่นหนังสือร้องคัดค้านร่าง
ผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อพ้นกำาหนด 90 วันนับตั้งแต่วันปิดประกาศ ย่อมส่งผลให้หนังสือ
ร้องขอดังกล่าวเป็นหนังสือร้องขอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการผังเมืองจึงไม่จำาต้องพิจารณาหนังสือ
ร้องขอดังกล่าวแต่ประการใด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการผังเมืองอาจใช้หนังสือร้องขอดังกล่าวเป็นข้อมูล
ประกอบในการพิจารณาหนังสือร้องขอฉบับอื่นที่ยื่นเข้ามาภายในกำาหนดเวลาได้ 1
คณะผู้วิจัยเห็นว่า ระยะเวลาที่กำาหนดให้ผู้มีส่วนได้เสีย ยื่นคำาร้องภายใน 90 วัน เป็นระยะเวลาเร่งรัด
(délaiindicatif) ซึ่งกฎหมายกำาหนดให้กระทำาการหรือไม่กระทำาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ภายในระยะเวลา
ที่กำาหนด โดยมิได้มีสภาพบังคับว่าหากไม่กระทำาตามกรอบระยะเวลาดังกล่าว จะส่งผลต่อความไม่ชอบด้วย
กฎหมายอย่างไร อีกทั้งไม่ได้เป็นระยะเวลาที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง แต่ระยะเวลา
ดังกล่าวเป็นการกำาหนดระยะเวลาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดให้สำานักผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ดำาเนินการรวบรวมคำาร้อง และส่งให้คณะกรรมการผังเมืองพิจารณา ก่อนดำาเนินการจัดทำาผังเมืองใน
ขั้นตอนต่อๆ ไป
ทั้งนี้ การดำาเนินการตามระยะเวลาเร่งรัด แม้ว่าจะล่วงเลยระยะเวลาที่กำาหนดไว้ ก็จะต้องดำาเนินการ
2
ภายในระยะเวลาอันสมควรด้วย ซึ่งกรณีการรับพิจารณาคำาร้องที่ยื่นเกินกำาหนดระยะเวลา 90 วัน
1 หนังสือคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา สำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ที่ สว (คกม) 0012.12/114
ลงวันที่ 28 เมษายน 2553
2 ระยะเวลาบังคับ (délaiimperatif) และระยะเวลาเร่งรัด (délaiindicatif) กับเงื่อนไขความชอบด้วยกฎหมายของ
การกระทำาทางปกครอง, ณรงค์ฤทธิ์ เพชรฤทธิ์, http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1917
209