Page 134 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 134
่
สภาพปาที่มีอยู่จริงถึง 64 ล้านไร่ โดยพื้นที่ที่มีการประกาศเกินไปนั้น ล้วนเป็นพื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัย
และที่ทํากินของชาวบ้าน และหลายพื้นที่นั้นสถานการณ์ได้ลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งระหว่าง
เจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้าน อันนํามาสู่การเกิดความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นตามมา
่
่
แม้จะเป็นความพยายามของกรมปาไม้ ในการผลักดันนโยบายปาไม้เป็นนโยบายของชาติ แต่
การยึดติดในเชิงเทคนิคและวิชาการมากเกินไป โดยเฉพาะการให้ความสําคัญกับตัวเลขการเพิ่มพื้นที่
่
่
ปาโดยไม่สนใจสาเหตุแท้จริงของการลดลงของพื้นที่ปาไม้ อาทิ การให้สัมปทานทําไม้อย่างกว้างขวาง
่
การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ การส่งเสริมการทําสวนปาเชิงพาณิชย์ และการผูกขาดการบริหาร
่
จัดการทรัพยากรโดยชุมชนไม่มีส่วนร่วม รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรปาไม้ของชาติตาม
ั
่
นโยบายที่เป็นอยู่เช่นนี้ ได้ก่อให้เกิดปญหาทั้งกับพื้นที่ปาไม้และประชาชนและชุมชนเป็นจํานวนมาก
่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรท้องถิ่นที่ต้องพึ่งพิงปาในการดํารงชีวิต จึงมีความจําเป็นต้องทบทวน
ั
่
นโยบายปาไม้ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในปจจุบัน
เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของประชาชนและชุมชน แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 หมวดที่ 3 ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน มาตรา 65 และ 66 และหมวด 5 ว่าด้วย
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 8 แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
่
มาตรา 84 ล้วนเป็นแนวนโยบายด้านปาไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยให้ความสําคัญกับการ
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น และเป็นส่วนส่งเสริมและ
่
สนับสนุนในการพัฒนานโยบายปาไม้ให้เป็นนโยบายสาธารณะได้ หากแต่ในความเป็นจริงนั้น แม้จะมี
การรับรองสิทธิชุมชนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ฉบับปีพ.ศ. 2540 จนมาถึง
ฉบับปี พ.ศ. 2550 ก็ตาม แต่เนื่องจากกฎหมายหลายฉบับที่มีบทบัญญัติส่วนใหญ่ไม่ได้รับรองสิทธิ
ชุมชนเอาไว้อย่างแจ้งชัดและมีลักษณะที่ไม่เอื้ออํานวยต่อการใช้สิทธิของชุมชนนั้น ต่างถูกกําหนด
่
่
ขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยปาไม้ เช่น พระราชบัญญัติปาไม้ พ.ศ. 2484
่
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติปาสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ
่
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ปา พ.ศ. 2535 อันเป็นบทกฎหมายหลักที่รัฐกําหนดขึ้นเพื่อใช้
่
ในการจัดการทรัพยากรปาไม้ของประเทศ ประกอบกับทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกพัฒนามาจาก
แนวคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบแยกส่วน ดังนั้น แม้จะได้มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาจนถึง ฉบับปี พ.ศ. 2550 แล้วก็ตาม ประกอบกับแม้ในบทบัญญัติ
ของกฎหมายต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีบางมาตราที่เปิดช่องให้ชุมชนยังสามารถจัดการและใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่การใช้และการตีความกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ยัง
เป็นไปอย่างแยกส่วนและไม่ยอมรับสิทธิชุมชน โดยเห็นได้จากการที่เจ้าหน้าที่รัฐยังคงบังคับใช้
กฎหมายในส่วนที่ไม่เอื้ออํานวยต่อการใช้สิทธิของชุมชน
่
ั
ปญหาจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการปาไม้และการบังคับใช้กฎหมายพบว่า เกิดจาก
ั
เหตุปจจัยหลายประการ
5‐62