Page 136 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 136
่
แล้วได้ใช้ที่ดินปาไม้ไปในทางอื่น เช่น ปลูกสร้าง รีสอร์ท หรือทําสนามกอล์ฟ เป็นต้น ซึ่งถือว่าผิด
หลักเกณฑ์การเช่าที่ บทบัญญัติมาตราที่ 20 กําหนด ไว้ 2 ประเภท คือ
่
1. ต้องเป็นปาเสื่อมโทรมที่ไม่สามารถกลับฟื้นคืนดีตามธรรมชาติได้ ตามมาตรา 16 ทวิ และ
่
่
2. การเช่านั้นต้องทําเพื่อการบํารุงปา หรือปลูกสร้างสวนปา หรือไม้ยืนต้น
ั
่
ปญหาจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการปาไม้พบว่า แนวคิดที่ให้สิทธิกับรัฐและเอกชน
โดยไม่ยอมรับสิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันของราษฎร มีการถกเถียงกันมานาน ดัง
แนวคิด “โศกนาฏกรรมของทรัพยากรร่วม” (The Tragedy of the Commons) ที่นําเสนอตัวอย่างโดย
Garrett Hardin ในปี 1968 ที่เชื่อว่าหากปล่อยให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างไม่จํากัด (Open Access to All)
ดังกรณีตัวอย่างทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ท้ายที่สุดทุ่งหญ้าก็จะถูกใช้ประโยชน์เกินกว่าที่จะฟื้นฟูตัวเองได้และ
เสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว และ “ตรรกะว่าด้วยการกระทําร่วม ” (The Logic of Collective Action)
ที่ว่าในความร่วมมือใด ๆ ก็ตามเพื่อผลประโยชน์ของสังคมแล้ว จะมีคนที่ไม่ทําอะไรและเอาประโยชน์
ฟรี ๆ (Free Rider) จากความร่วมมือดังกล่าวเสมอ จึงไม่มีใครอยากทําเพื่อสังคม ผลก็คือ แนว
ทางการบริหารจัดการทรัพยากรจึงมุ่งไปสู่ข้อสรุปว่า ต้องมีผู้รับผิดชอบโดยตรงในการกํากับดูแล
ทรัพยากร เพื่อไม่ให้ทรัพยากรถูกใช้มากเกินไป ซึ่งหากไม่ใช่การบริหารจัดการแบบสินค้าเอกชนก็ควร
เป็นแบบสินค้าสาธารณะ และนํามาสู่ข้อสรุปที่ว่าถ้าไม่ใช่การดูแลควบคุมโดยตรงจากรัฐ ก็ต้องเป็นการ
ให้เอกชนบริหารจัดการ (Privatization) นั่นเอง ตัวอย่างประเทศไทยที่ชัดเจนคือ แนวนโยบายการ
่
บริหารจัดการทรัพยากรในลักษณะที่รัฐเข้าไปจัดการเอง ในรูปแบบของปาสงวนแห่งชาติ อุทยาน
่
แห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา หรือกําหนดกรรมสิทธิ์ให้เอกชนเข้าไปครอบครองและบริหารจัดการใน
่
่
รูปแบบสัมปทานปาไม้ สัมปทานเหมืองแร่ หรือให้เช่าที่ปาสงวนระยะยาว เป็นต้น แต่ Illinor Ostrom
โต้แย้งว่า แนวทางการควบคุมโดยตรงจากรัฐ มาจากความเชื่อที่ว่า รัฐควรจะมีบทบาทเป็นแรงขับ
ภายนอกให้บุคคลเลือกทางที่ถูกต้องและลงโทษหากมีการทําผิดกติกา แนวทางนี้จะประสบผลเลิศก็
ต่อเมื่อรัฐมีข้อมูลอย่างสมบูรณ์และสามารถบังคับใช้กฎกติกาได้อย่างแม่นยําและทั่วถึง ซึ่งในความจริง
อาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะรัฐไม่มีข้อมูลที่ดีพอ บังคับใช้กติกาได้ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะกลัวเสีย
คะแนนนิยม หรือกลัวกระทบนายทุน จนท้ายที่สุดแล้วย่อมไม่มีใครทําตามกติกาและทรัพยากรก็ตกอยู่
ในสภาพเปิดเสรีไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจน และจบลงด้วยโศกนาฏกรรมของทรัพยากรร่วมเช่นเดิม ส่วน
แนวทางการให้สัมปทานกับเอกชนโดยเชื่อว่าเอกชนจะมีแรงจูงใจในการดูแลรักษาระบบทรัพยากรนั้น
ให้อยู่ในสภาพดี เพราะจะต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้ไปอีกนาน จึงไม่ต้องการให้เสื่อมโทรมเร็ว
เกินควร แต่ก็ไม่อาจเกิดผลเลิศถ้าทรัพยากรบางอย่างมีความจํากัด เช่น หากธรรมชาติของทรัพยากร
ร่วมมีความไม่แน่นอน เอกชนที่จะต้องแบกรับความเสี่ยงแทน รวมทั้งการให้สัมปทานกับเอกชนอาจ
ไปขัดกันหรือส่งผลกระทบภายนอก (Externalities) กับวิถีการดําเนินชีวิตของชาวบ้านในชุมชน และ
กลายเป็นความขัดแย้ง ดังนั้น ทั้งการควบคุมโดยตรงจากรัฐและการให้สัมปทานกับเอกชนก็อาจไม่
ช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมบรรลุผลเลิศแต่อย่างใด
แนวคิดเรื่องสิทธิชุมชน
่
่
ผลจากแนวคิดแยกคนออกจากปาและแนวคิดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการปาและ
ทรัพยากรเพื่อมุ่งประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจทําให้การรับรู้และเคารพในสิทธิของชุมชนท้องถิ่นใน
5‐64