Page 138 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 138
กฎหมายที่ดิน บุคคลหรือชุมชนนั้นก็ไม่มีสิทธิในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
ภายในที่ดินที่ตนครอบครองอยู่และต้องตกอยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับนี้ โดยกฎหมายไม่สนใจว่า
่
การที่จะให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ปาเขาห่างไกลมาแจ้งการครอบครองที่ดินตามกฎหมายที่ดินนั้นเป็นไป
ได้หรือไม่ ทั้งนี้ยังไม่ได้พิจารณาด้วยว่า ชุมชนเหล่านี้รู้หรือไม่ว่ามีกฎหมายกําหนดให้พวกเขาต้อง
่
ดําเนินการด้วยหรือไม่ ในขณะเดียวกันการกําหนดพื้นที่ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา เขตอุทยาน
่
แห่งชาติ หรือเขตปาสงวนแห่งชาติ ก็เป็นอํานาจของรัฐเพียงหน่วยเดียวเท่านั้น โดยไม่ได้เปิดให้
ชุมชนซึ่งอยู่อาศัยในพื้นที่มาช้านานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยเลย ทําให้ในการพิจารณาพื้นที่ที่
เหมาะสม รัฐจึงพิจารณาเฉพาะประเด็นด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น โดย
ไม่ได้พิจารณาในประเด็นการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่สัมพันธ์กับชุมชนใน
ั
ฐานะที่เป็นปจจัยสําคัญการดํารงชีวิตของชุมชน และไม่ได้เปิดให้ชุมชนซึ่งอยู่อาศัยในพื้นที่มาช้านาน
่
ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย พื้นฐานแนวคิดของรัฐในการกําหนดพื้นที่ปาดังกล่าวนั้น สะท้อนให้
เห็นแนวคิดที่ไม่ยอมรับตัวตนของชุมชนและแนวคิดในการหวงกันทรัพยากรธรรมชาติโดยรัฐเพียง
หน่วยเดียว
การไม่ยอมรับตัวตนของชุมชนที่ครอบครองและทําประโยชน์อยู่ก่อนแล้วในพื้นที่ดังกล่าว ทํา
ให้ชุมชนจึงกลายเป็นผู้กระทําผิดกฎหมายของรัฐ ทั้งที่หากพิจารณาตามหลักสิทธิชุมชนทั้งตาม
่
กฎหมายระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ชุมชนในพื้นที่ปาหลาย
พื้นที่อาจถือเป็นผู้ทรงสิทธิชุมชนที่รัฐต้องยอมรับและให้การคุ้มครองการใช้สิทธิของชุมชน โดย
ั
ั
ประเด็นปญหานี้ยังเชื่อมโยงไปถึงปญหาอันเกิดจากการทําหน้าที่ของผู้ใช้กฎหมายอีกด้วย ที่พบว่า
่
เจ้าหน้าที่รัฐผู้ใช้กฎหมาย ส่วนใหญ่มีทัศนคติทางลบกับชุมชนในเขตปาไม่เข้าใจบริบททางสังคม และ
ขาดความรู้ความเข้าใจและศิลปะในการทํางานกับชุมชนและมักเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจมากเกินไปและมัก
ใช้ไปในทางที่มิชอบ
ปัญหาการห้ามใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่า การตัดสิทธิห้ามราษฎรใช้
่
ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตปาโดยมิได้พิจารณาว่าวิธีการใช้นั้นมีความยั่งยืนหรือเป็นการ
ทําลาย จึงขัดหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล และขัดกับรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ให้ชุมชนมีสิทธิที่จะ
ั
อนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปญญาท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา และ
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนตามมาตรา 66 ทั้งยังไม่
สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม เพราะชุมชนมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติใน
การดํารงวิถีชีวิตด้วยกฎเกณฑ์และกติกาที่ชุมชนของเขากําหนด ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การห้าม
ดังกล่าวนั้น แทบจะทําให้ชุมชนไม่อาจดํารงวิถีชีวิตอยู่ได้เลย
อํานาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เกิดขึ้นเนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายกําหนดให้
่
่
พนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่มีอํานาจ “จัดการ” ใด ๆ ในพื้นที่ปา ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานปา
ไม้เป็นผู้ร่างกฎหมาย เป็นผู้ใช้บังคับกฎหมาย ติดตามการใช้กฎหมาย และปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
กันเอง ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการที่รวบอํานาจไว้ที่หน่วยงานเดียวนั้น ย่อมทําให้กฎหมายที่บังคับใช้มี
ลักษณะที่ไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรม
5‐66