Page 139 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 139
ผลของเนื้อหาในกฎหมายและผู้ใช้กฎหมายที่มีลักษณะเช่นนี้ จึงทําให้มีประชาชนจํานวนมาก
อยู่อาศัยทํากินโดยผิดกฎหมาย ตัวเลขปี 2544 มีประชาชนประมาณ 4.6 แสนครัวเรือนหรือ 1 ใน 5
่
ของประชากรไทยต้องอยู่อาศัยทํากินโดยผิดกฎหมายปาไม้สะท้อนให้ทราบถึงความผิดพลาดบกพร่อง
ของการใช้อํานาจที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้
ทั้งนี้ แม้ว่าชุมชนจะมีวิถีวัฒนธรรมและความเชื่อในการจัดการและใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบที่ไม่กระทบกับระบบนิเวศทางธรรมชาติซึ่งก็เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ
กฎหมาย แต่ก็ไม่อาจดําเนินการใด ๆ ได้ เพราะขัดกับบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น กรณีการดําเนิน
่
นโยบายโฉนดชุมชนที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถดําเนินการได้โดยเฉพาะในพื้นที่ปาอนุรักษ์
่
่
เนื่องจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช กล่าวว่า เพราะกฎหมายปาไม้ไม่ได้เปิดช่องให้
่
ดําเนินการได้ โดยหากจะดําเนินการตามนโยบายดังกล่าว ก็ต้องเพิกถอนพื้นที่ปาออกจากกฎหมายที่
่
บังคับใช้อยู่เท่านั้น ดังนั้น แม้ในบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยปาไม้จะมิได้ปิดกั้นการใช้สิทธิของ
ชุมชนในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ก็มิได้เอื้ออํานวยต่อการใช้สิทธิของชุมชน
่
ด้วยเช่นกัน เนื่องจากกฎหมายกําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่มีอํานาจดําเนินการในพื้นที่ปาได้
จึงทําให้การใช้สิทธิของชุมชนดังกล่าวต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ผู้มี
อํานาจตามกฎหมาย ซึ่งหากเจ้าหน้าที่มีวิธีคิดที่ไม่ยอมรับสิทธิชุมชน ก็อาจจะบังคับใช้กฎหมายใน
ลักษณะที่ละเมิดสิทธิชุมชนได้
เนื่องจากสิทธิชุมชนอันถือเป็นสิทธิธรรมชาติที่ไม่อาจถูกยกเลิกหรือขัดขวางได้จากรัฐ ทําให้
ในการตรากฎหมาย การใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมายของรัฐ จึงควรถือเป็นหน้าที่ที่รัฐต้อง
รับรองและคุ้มครองสิทธิชุมชนให้มีสถานะที่เท่าเทียมกับสิทธิและเสรีภาพในด้านอื่น ๆ ด้วย แต่
่
เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการปาไม้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แนวคิดสิทธิชุมชนยังไม่ถูก
ยอมรับให้มีสถานะที่เท่าเทียมกับสิทธิและเสรีภาพด้านอื่น ๆ ในรัฐ ประกอบกับแนวคิดในการจัดการ
่
ทรัพยากรธรรมชาติโดยรัฐเพียงหน่วยเดียว ทําให้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการปาไม้จึงไม่มี
บทบัญญัติใดที่กําหนดให้รัฐต้องมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการรับรองและคุ้มครองสิทธิของชุมชนให้เท่า
เทียมกับการทําหน้าที่ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในฐานะที่เป็นสมบัติของรัฐ แม้กฎหมายจะ
มิได้มีบทบัญญัติใดที่ปิดกั้นการใช้สิทธิของชุมชนอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ยังไม่เอื้ออํานวยให้การใช้สิทธิใน
การจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนมีได้อย่างเพียงพอและยั่งยืน ซึ่งอาจทําให้
ั
สถานการณ์ปญหาการละเมิดสิทธิชุมชนอาจกลับมามีความรุนแรงได้อีกครั้ง
และเนื่องจากมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กําหนดให้สิทธิ
และเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองโดยชัดแจ้ง ย่อมได้รับความคุ้มครองจากองค์กรของรัฐ โดยในกรณีนี้
สิทธิชุมชนซึ่งได้ถูกรับรองไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา 66 และมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และยังถูกรับรองไว้ในคําพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง
อีกหลายคดีว่าสิทธิชุมชนที่รับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น มีผลบังคับใช้โดยทันที จึง
ถือได้ว่าสิทธิชุมชนต้องได้รับความคุ้มครองทั้งในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการ
ตีความกฎหมายของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ด้วยโดยทันทีเช่นกัน
5‐67