Page 109 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 109
วันที่ 9 พฤษภาคม 2532 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้แก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2
่
กันยายน 2529 และวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ดังนี้ "หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกําหนดพื้นที่ปาสงวน
่
แห่งชาติ ที่ถือว่าเป็นปาเสื่อมโทรม ดังต่อไปนี้ ในการสํารวจพื้นที่ในกรณีพื้นที่ที่ขออนุญาตมีเนื้อที่
มากกว่า 500 ไร่ ควรมีการตรวจสอบ โดยการถ่ายภาพทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อ
่
ประเมินดูสภาพปาทั่วๆ ไปและให้สํารวจโดยวิธีทําแปลงตัวอย่างแบบ (Line Plot) ให้กระจายทั่วพื้นที่
่
่
ของไม้ขนาดต่างๆ "ให้สํานักงบประมาณเพิ่มการสนับสนุนงบประมาณด้านการปลูกปาไม้ ให้กรมปา
่
ไม้ เพื่อทําการปลูกปาในพื้นที่ต้นนํ้าลําธารชั้นที่ 2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2534 เป็นต้นไป ตามที่ประธาน
่
คณะกรรมการนโยบายปาไม้แห่งชาติ (นายพิชัย รัตตกุล) และให้ดําเนินการต่อไป
การให้สิทธิทํากินในป่าสงวนแห่งชาติ (ส.ท.ก.)
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2522 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์
2526 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2522 ได้กําหนดหลักเกณฑ์การ
ช่วยเหลือประชาชนไว้ดังนี้
่
1) พื้นที่ปาสงวนแห่งชาติที่เป็นที่ราบและเหมาะต่อการกสิกรรม เมื่อได้สํารวจจํานวนราษฎรที่
่
บุกรุกอยู่ในปาสงวนแห่งชาติเป็นจํานวนแน่นอนแล้ว รัฐจะจัดให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยละทํากินครอบครัว
ละ 15 ไร่
่
่
2) ให้ราษฎรปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินที่บุกรุกอยู่ หรือจะปลูกปาในลักษณะปาชุมชน โดยให้ไม้
นั้นเป็นของราษฎรผู้ปลูก
3) ที่ทํากินที่ให้ทํากินนั้น ไม่ให้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินและห้ามนําไปจําหน่าย
แต่ให้ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทได้ โดยทางราชการจะออกหนังสือรับรองการครอบครองที่ดินให้
(ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน) สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อ
สถาบันการเงิน เพื่อประโยชน์ในการกู้เงินได้
สําหรับที่ราบให้หมายรวมถึงที่ลาดเขาไม่สูงชันและไม่ใช่ต้นนํ้าลําธารซึ่งเหมาะสมใช้ทํา
การเกษตรได้ด้วย
การเพิกถอนป่าที่เป็นที่ตั้งชุมชน
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 อนุมัติในหลักการช่วยเหลือราษฎรตาม
่
่
โครงการเพิกถอนสภาพปาที่เป็นที่ตั้งชุมชน เฉพาะในเขตปาสงวนแห่งชาติตามนัยมติคณะรัฐมนตรี
วันที่ 12 มิถุนายน 2520 โดยแบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นแหล่งชุมชนเกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2510 ซึ่งปรากฏตามภาพถ่ายทางอากาศ
โครงการ VAP 61 ร่วมกับแผนที่ภูมิประเทศของกรมแผนที่ทหารระวางชุด L 708 เป็นหลักฐานในการ
่
เพิกถอนสภาพปาสงวนแห่งชาติเพื่อให้ได้รับเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป
กลุ่มที่ 2 เป็นแหล่งชุมชนที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2518 ซึ่งปรากฏตามหลักฐานใน
่
ภาพถ่ายทางอากาศ โครงการ น.ส.3 กับแผนที่ภูมิประเทศเป็นหลักฐานให้สิทธิอยู่อาศัยในเขตปา
สงวนแห่งชาติ ในรูปแบบโครงการ ส.ท.ก.
5‐37