Page 114 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 114
่
3) ให้กรมปาไม้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบพิสูจน์การครอบครอง
ที่ดินของราษฎร โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร (หากไม่มีให้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม)
่
ซึ่งถ่ายภาพพื้นที่นั้นไว้เป็นครั้งแรกหลังวันสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ปาไม้ตามกฎหมายครั้งแรก
่
ตรวจสอบร่องรอยการทําประโยชน์ต่อเนื่องมาก่อนวันสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ปาไม้ตามกฎหมายครั้ง
แรก และต้องพิจารณาร่วมกับพยานหลักฐานอื่น ซึ่งแสดงว่าได้มีการครอบครองทําประโยชน์ต่อเนื่อง
มาก่อนวันสงวนหวงห้ามนั้น ๆ ด้วย
่
4) กรณีผลการตรวจพิสูจน์พบว่า ราษฎรอยู่อาศัย/ทํากินมาก่อน ให้กรมปาไม้จัดทํา
ขอบเขตบริเวณที่อยู่อาศัย/ทํากินให้ชัดเจน ห้ามขยายพื้นที่เพิ่มเติมโดยเด็ดขาด และดําเนินการตาม
กฎหมายเพื่อให้ราษฎรอยู่อาศัย/ทํากินตามความจําเป็นเพื่อการครองชีพ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ล่อแหลม
่
คุกคามต่อระบบนิเวศ พื้นที่ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองดูแลพื้นที่ปาอนุรักษ์ตาม
กฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณาดําเนินการช่วยเหลือราษฎรตามความเหมาะสมเพื่อให้หาที่
อยู่อาศัย/ทํากินแห่งใหม่ หรือดําเนินการเคลื่อนย้ายราษฎรออกมาจากบริเวณนั้นไปอยู่อาศัย/ทํากินใน
พื้นที่ที่เหมาะสม โดยในพื้นที่รองรับให้มีการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค การพัฒนาคุณภาพชีวิตและ
ส่งเสริมอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม รวมทั้งพิจารณารับรองสิทธิในที่ดินตามระเบียบ
่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ที่ราษฎรได้เคลื่อนย้ายออกไปแล้ว ให้ทําการปลูกฟื้นฟูสภาพปาต่อไป
5) กรณีผลการตรวจพิสูจน์พบว่า ราษฎรอยู่อาศัย/ทํากินหลังวันประกาศสงวนหวง
่
่
ห้ามเป็นพื้นที่ปาไม้ตามกฎหมายครั้งแรก ให้กรมปาไม้พิจารณาดําเนินการดังนี้ (1) ให้เคลื่อนย้าย
่
่
ราษฎรออกจากพื้นที่ปาอนุรักษ์นั้น แล้วทําการปลูกปาเพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม การเคลื่อนย้าย
ราษฎรออกจากพื้นที่ให้เตรียมแผนการรองรับในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค
การพัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม รวมทั้งการพิจารณารับรอง
สิทธิในที่ดินตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (2) หากยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่
ได้ทันที ให้ดําเนินการควบคุมขอบเขตพื้นที่มิให้ขยายเพิ่มเติมโดยเด็ดขาด และในระหว่างรอการ
เคลื่อนย้ายให้จัดระเบียบที่อยู่อาศัย/ทํากินให้เพียงพอกับการดํารงชีพ
6) การดําเนินการตาม 4) และ 5) จะต้องกําหนดเงื่อนไขการใช้พื้นที่ให้เป็นไปใน
รูปแบบของการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือสิ่งแวดล้อมน้อย
ที่สุด
7) ให้ทุกส่วนราชการที่ดําเนินการพัฒนาพื้นที่สูง ทําการพัฒนาเฉพาะความต้องการ
พื้นฐานในการดํารงชีพ
1.4 พื้นที่อื่นๆ ที่สงวนหรืออนุรักษ์ไว้เพื่อกิจการป่าไม้
ั
กรณีที่มีราษฎรร้องเรียนเสนอปญหา ให้จังหวัดดําเนินการตั้งคณะทํางานตรวจสอบ
่
่
ข้อเท็จจริง โดยให้มีทั้งฝายราชการและราษฎรฝายละเท่า ๆ กัน การตรวจสอบข้อเท็จจริงให้พิสูจน์การ
อยู่อาศัยครอบครองทําประโยชน์ในพื้นที่ให้ชัดเจนว่ามีมาก่อนหรือไม่ ราษฎรเดือดร้อนอย่างไร เคย
ั
ได้รับการช่วยเหลือจากทางราชการมาแล้วหรือไม่ แล้วเสนอมาตรการหรือแนวทางแก้ไขปญหาให้
ั
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ตามมาตรการและแนวทางของแต่ละพื้นที่ที่เป็นปญหา ทั้งนี้ให้
หน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ความเป็นธรรมกับราษฎรให้มากที่สุด
5‐42