Page 213 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 213
ความประพฤติของบุคคลนั้นได้แล้ว สังคมควรให้โอกาสบุคคลนั้นแก้ไข
กลับเนื้อกลับตัวเพื่อการพัฒนาตนเอง สุดท้ายสังคมก็จะได้ประโยชน์
ทางด้านทัณฑวิทยามีแนวคิดว่าการลงโทษจำาคุกที่ควบคุมตัวบุคคลไว้
ในเรือนจำา นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลนั้นหลาบจำา รับผิดชอบ
ในผลการกระทำาความผิดของตนเองแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมของนักโทษตามโครงการต่าง ๆ ของทัณฑสถานซึ่งจะต้องใช้เวลา
การจำาคุกระยะสั้น ๆ ไม่อาจนำาไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้และอาจ
เกิดผลในทางตรงกันข้ามคือบุคคลที่ไม่ได้เป็นอาชญากรโดยนิสัย อาจเรียนรู้
อาชญากรรมจากนักโทษในคุก ดังนั้นถ้าสังคมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ของบุคคลนั้นโดยไม่ต้องใช้ฑัณทสถาน ก็จะเป็นประโยชน์กว่า
กฎหมายอาญาของไทยให้ศาลสามารถสั่งให้รอการลงโทษจำาคุกได้
กรณีที่ศาลได้ตัดสินว่า จำาเลยกระทำาความผิดให้ลงโทษจำาคุกไม่เกินสามปี
และไม่ปรากฏว่าจำาเลยได้เคยรับโทษจำาคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าเคยได้รับโทษ
จำาคุกมา แต่เป็นโทษที่จำาเลยกระทำาด้วยความประมาท หรือเป็นความผิด
ลหุโทษ เมื่อศาลได้คำานึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา
อบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิตใจ หรือเหตุอันควรปราณีแล้ว ศาลอาจกำาหนด
ให้รอการลงโทษจำาคุกนั้นไว้ก่อน แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้บุคคลนั้นได้มีโอกาส
กลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลกำาหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่
พิพากษา คำาพิพากษาให้รอการลงโทษจำาคุกทำาพร้อมกับการพิพากษาความผิด
ของจำาเลย กรณีที่จำาเลยกระทำาความผิดลักษณะเดียวกันอีก ระหว่างที่รอ
การลงอาญาศาลที่พิจารณาความผิดในคดีหลังอาจสั่งให้รวมโทษที่รอ
การลงโทษจำาคุกเข้าไว้ในคดีหลังได้
หลายประเทศได้กำาหนดให้ศาลมีอำานาจออกคำาสั่งใช้มาตรการติดตาม
สอดส่องความประพฤติของบุคคลที่อยู่ระหว่างการรอการลงโทษจำาคุก
มาตรการดังกล่าว เรียกว่า การคุมประพฤติ (Parole) ซึ่งทำาโดยเจ้าหน้าที่
คุมประพฤติ (Parole Officer)
202