Page 218 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 218
ความอาญา มาตรา 7 ทวิ (1) บัญญัติว่า “ผู้ต้องหามีสิทธิพบและปรึกษา
ทนายความสองต่อสอง”
คำาที่เกี่ยวข้อง THE RIGHT TO KEEP SILENCE,
CONFESSION, INQUISITORIAL SYSTEM, ACCUSATORIAL SYSTEM,
INTERROGATION
TO BE TRIED WITHOUT สิทธิที่จะได้รับ
UNDUE DELAY, การพิจารณาคดี
THE RIGHT โดยไม่ชักช้าเกินความจำาเป็น
สิทธิขั้นพื้นฐานของจำาเลยในคดีอาญาที่จะได้รับการพิจารณาไต่สวน
ความผิดในระยะเวลาโดยเร็ว ไม่เนิ่นช้าโดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอ้างได้
ในคดีอาญาแม้ว่าบุคคลที่ศาลยังไม่พิพากษาว่าผิดจะได้รับการสันนิษฐาน
ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่บุคคลที่เป็นผู้ต้องหาหรือจำาเลยถูกลิดรอนสิทธิหลายประการ
เช่น อาจถูกคุมขัง ทำาให้สูญเสียอิสรภาพ ถูกจำากัดสิทธิในการเดินทาง นอกจากนั้น
อาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ในระหว่างการดำาเนินคดี การพิจารณาคดี
ที่รวดเร็วจึงทำาให้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวได้รับผลกระทบ
น้อยที่สุด
รัฐจะต้องมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้คดีอาญาดำาเนินไปอย่างรวดเร็ว
ต่อเนื่อง ทั้งในขั้นตอนก่อนฟ้องและใขั้นดำาเนินคดีในศาล เช่น การมีพนักงาน
สอบสวนที่มีความรู้ความสามารถที่พอเพียง มีกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับ
การเลื่อนนัดการผัดฟ้องที่รัดกุม และมีจำานวนอัยการ และตุลาการที่พอเพียง
กับปริมาณคดี
คำาว่าไม่ชักช้าเกินความจำาเป็นนั้นจะต้องไม่ใช่ระยะเวลาที่สั้นเกินไป
จนเป็นการรวบรัดจนจำาเลยไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อติดต่อหา
ทนายความ เพื่อเป็นที่ปรึกษาคดี พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนได้
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยไม่ชักช้าเกินความจำาเป็นได้รับรอง
โดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14(3)
ว่า “ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำาผิดย่อมมีสิทธิ
207