Page 210 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 210
คำาที่เกี่ยวข้อง COMPLAINT, COMMUNICATION
STATUTORY RIGHTS สิทธิตามกฎหมายบัญญัติ
ประโยชน์ อำานาจกระทำาการ และความคุ้มกัน ของบุคคลที่เกิดจาก
การกำาหนด หรือการรับรองโดยรัฐที่กำาหนดขึ้นโดยกฎหมาย ตามบทบัญญัติ
อันเป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองบุคคล คำานี้มีความหมายตรงกันข้ามกับ
คำาว่า “สิทธิตามสัญญา” (ดู CONTRACTUAL RIGHTS)
ทฤษฎีทางกฎหมายเอกชน หรือกฎหมายแพ่ง ยึดถือเสรีภาพ
ในการทำาสัญญาสัญญาเป็นการก่อตั้งสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคล ในขณะที่
สิทธิตามกฎหมายบัญญัติ เป็นสิทธิที่ก่อตั้ง หรือรับรองโดยกฎหมาย
เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากในสังคมบุคคลมีอำานาจต่อรอง
ไม่เท่ากันจึงต้องคุ้มครองบุคคลที่อ่อนแอ หรือมีอำานาจต่อรองน้อยกว่า
หรือเพื่อรักษาระเบียบทางเศรษฐกิจไว้ การที่กฎหมายกำาหนด หรือรับรอง
สิทธิของบุคคลขึ้นเป็นการแทรกแซงเสรีภาพในการทำาสัญญาของบุคคล เช่น
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมาย
ป้องกันการผูกขาด และกฎหมายเกี่ยวกับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
บุคคลอาจทำาความตกลงยกเว้น หรือเปลี่ยนแปลงสิทธิตามกฎหมาย
บัญญัติได้ถ้าเป็นเพียงกฎหมายที่คุ้มครองปัจเจกชน แต่ถ้าเป็นกฎหมาย
ที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณชน เช่น ความสงบเรียบร้อย หรือ
ความมั่นคงของสังคม ศีลธรรมอันดี และระเบียบทางเศรษฐกิจของมหาชน
จะทำาความตกลงให้ขัดกับกฎหมายเหล่านี้ไม่ได้
SUI JURIS การบรรลุนิติภาวะ
มาจากภาษาละตินอ่านว่า ซูอี ยูริส แปลว่า “ด้วยสิทธิของเขาเอง
(Of His/Her Own Right)” หมายถึง สภาวะที่บุคคลสามารถมีและใช้สิทธิ
พลเมือง และสิทธิทางสังคมเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่ตกอยู่ในภาวะหย่อน
ความสามารถทางกฎหมายในการใช้สิทธิ หรือต้องอยู่ในความดูแลหรือปกครอง
ของบุคคลอื่น บุคคลที่บรรลุนิติภาวะสามารถตัดสินใจและดำาเนินการใด ๆ
เกี่ยวกับตนเองได้ทั้งสิ้น อันต่างจากบุคคลซึ่งเป็นผู้เยาว์ (Minor) ที่การใช้
199