Page 211 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 211
สิทธิที่มีตามกฎหมาย (Legal Rights) จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลควบคุม
ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ดังนั้น การทำานิติกรรมใด ๆ ของผู้เยาว์ที่ไม่ใช่เรื่อง
ที่ต้องทำาเองเฉพาะตัว จึงต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวก่อน
กฎหมายของประเทศต่าง ๆ จะใช้อายุเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ซึ่งแตกต่างกันไป นับตั้งแต่ได้มีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532)
ที่กำาหนดว่า เด็กคือบุคคลที่มีอายุต่ำากว่าสิบแปดปี มีหลายประเทศกำาหนด
ให้อายุสิบแปดปีเป็นเกณฑ์ในการบรรลุนิติภาวะ เดิมกฎหมายใช้วัยของบุคคล
เป็นเกณฑ์การกำาหนดในการบรรลุนิติภาวะ ต่อมาเปลี่ยนเป็นอายุแทน
ตามกฎหมายไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำาหนดให้บุคคล
พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุยี่สิบปีบริบูรณ์ หรือเมื่อทำาการ
สมรสตามกฎหมาย
SUPREME COURT ศาลสูงสุด
ศาลยุติธรรมที่มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีสูงสุดของประเทศ
คำาวินิจฉัยหรือคำาพิพากษาของศาลนี้จะไม่ถูกทบทวนโดยศาลใดอีก คำาวินิจฉัย
หรือความเห็นในคำาพิพากษาศาลสูงสุดมีความสำาคัญเพราะเป็นการวางหลัก
กฎหมายของประเทศ
บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มีศาลประจำามลรัฐ เช่น “The Supreme
Court of New York” นั้น ไม่ถือว่าศาลประเภทนี้เป็นศาลสูงสุดเนื่องจาก
คำาพิพากษาของศาลนี้ สามารถถูกทบทวนได้โดยศาลที่สูงกว่า คือ ศาลอุทธรณ์
และศาลสูงสุดแห่งสหพันธรัฐ
ศาลสูงสุดในแต่ละประเทศอาจมีชื่อเป็นอย่างอื่น เช่น ประเทศ
ออสเตรเลีย เรียกว่า The High Court of Australia ส่วนประเทศอังกฤษ
(แคว้นอิงแลนด์และเวลส์) ก่อนการปฏิรูประบบศาลใน ค.ศ. 2005
(พ.ศ. 2548) ศาลสูงสุดมีสามศาลคือ The Crown Court, The High Court
และ The Court of Appeal แต่ปัจจุบันได้จัดตั้ง The Supreme Court of
the United Kingdom ขึ้นเป็นศาลเดียว สำาหรับประเทศไทยศาลสูงสุดคือ
ศาลฎีกา “Dika Court”
200