Page 208 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 208
สังคมทำาหน้าที่ปกป้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับบุคคล ดังนั้น
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ สังคมจึงต้องมีอำานาจบังคับเหนือบุคคลโดยการ
ออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายและการตัดสินคดีความ เมื่อเสรีภาพ
ของบุคคลขัดกัน ฮ้อบส์เรียกอำานาจเด็ดขาดนี้ว่าองค์อธิปัตย์ และเห็นว่า
ปัจเจกชนไม่สามารถขัดขืนใด ๆ ต่อองค์อธิปัตย์ได้ อย่างไรก็ตามมีสิทธิ
ส่วนหนึ่งที่ปัจเจกชนไม่สามารถสละให้กับรัฐได้ สิทธินั้นเป็นสิทธิตามธรรมชาติ
ของมนุษย์ เช่น สิทธิในชีวิต และความมั่นคงในชีวิต เป็นต้น
ล็อคและรุสโซ ได้ปรับแนวคิดทฤษฎี “สัญญาประชาคม” โดยเสนอว่า
ปัจเจกชนตกลงยินยอมก่อตั้งสัญญาประชาคมเพราะประโยชน์ของปัจเจกชน
เอง เพื่อให้รัฐคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
ของปัจเจกชน รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นก็เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ดังนั้นถ้ารัฐบาล
ไม่ทำาตามหน้าที่ ประชาชนก็มีสิทธิที่จะล้มล้าง หรือเปลี่ยนรัฐบาลได้
ทฤษฎีสัญญาประชาคมมีอิทธิพลต่อนักคิดทางการเมืองหลายคน
โดยเฉพาะในช่วงการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส เช่น ผู้ร่าง
รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาได้นำาข้อเขียนของล็อคเกี่ยวกับสัญญาประชาคม
มาไว้ในส่วนหนึ่งของอารัมภบทรัฐธรรมนูญ
SOLICITOR- GENERAL อัยการสูงสุด
บุคคลที่ดำารงตำาแหน่งเจ้าพนักงานในฝ่ายบริหารมีหน้าที่ให้คำาปรึกษา
กฎหมายแก่รัฐ และรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการดำาเนินคดีแทนรัฐ
คำานี้ส่วนใหญ่ใช้กับประเทศที่มีระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ส่วนใน
ระบบซีวิลลอว์ มักใช้ Prosecutor-General บางประเทศ เช่น สาธารณรัฐ
ฟิลิปปินส์ ใช้ Solicitor-General เพราะอิทธิพลของระบบกฎหมายอเมริกา
ที่มีต่อระบบกฎหมายฟิลิปปินส์
สำาหรับประเทศไทยใช้ “Attorney-General” เรียกตำาแหน่งอัยการสูงสุด
ในประเทศสหรัฐอเมริกา Attorney-General หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม ซึ่งเป็นบุคคลที่ดำารงตำาแหน่งทางฝ่ายบริหารโดยได้รับการแต่งตั้ง
จากประธานาธิบดี เป็นบุคคลที่มีตำาแหน่งสูงสุดในการบังคับใช้กฎหมาย
และเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายในคณะบริหาร นอกจากนั้นแต่ละมลรัฐ
197