Page 77 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 77
๖๒
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม) เนื่องจากกฎหมายนั้นมิได้เปิดช่องให้ศาลซึ่งรับค่าร้องโต้แย้ง
ค่าสั่งขององค์กรของรัฐสามารถตรวจสอบความชอบธรรมของค่าสั่งเช่นนั้นได้แต่อย่างใด
๒.๕.๕ คดีเกี่ยวกับการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวอันเกี่ยวกับเสรีภาพในความ
สัมพันธ์ทางเพศ
(๑) ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง (la liberté des relations entre les
deux sexes)
การคุ้มครองสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลย่อมครอบคลุมถึงเสรีภาพของ
บุคคลในอันที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม เสรีภาพดังกล่าวย่อมต้องตั้งอยู่
บนพื้นฐานของความยินยอมที่ชัดเจนและเป็นอิสระ (un consentement éclairé et libre) ของบุคคลที่
เกี่ยวข้อง ซึ่งมิใช่กรณีตามเรื่องร้องเรียนนี้ซึ่งเป็นกรณีของเด็กหญิงคนหนึ่งที่มีความพิการทางสติปัญญา
(une handicapée mentale) และมีอายุ ๑๖ ปี หากแต่ในทางสติปัญญาแล้วยังเป็นเด็กอยู่(demeurée
intellectuellement une enfant) เด็กหญิงคนนี้อาศัยอยู่ในสถานแรกรับส่าหรับเด็กที่พิการทาง
สติปัญญา ผู้ท่าหน้าที่เป็นผู้อ่านวยการสถานแรกรับแห่งนี้ได้เข้าไปในห้องของเด็กหญิงและปลุกให้
เด็กหญิงตื่นกลางดึก และบังคับให้เด็กหญิงตามเขาไปในห้องเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเขา การกระท่าของ
บุคคลนั้นย่อมกระทบต่อสิทธิของเด็กหญิงนั้นในอันที่จะได้รับการเคารพต่อสิทธิในชีวิตส่วนตัวของตน
ซี่งครอบคลุมถึงเสรีภาพในการมีเพศสัมพันธ์ด้วย เนื่องจากเด็กหญิงนั้นมิได้ให้ความยินยอมแก่
๘๑
การมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลนั้นแต่อย่างใด
(๒) ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย (la liberté des relations sexuelles
entre hommes)
สิทธิที่จะได้รับการเคารพในชีวิตส่วนตัวอันเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของ
๘๒
บุคคลรวมถึงเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายด้วยหรือไม่ ในคดี Dudgeon ภายหลังจากที่
คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาโดยกฎหมาย
ของประเทศไอร์แลนด์เหนือส่าหรับการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย (des rapports homosexuels
entre hommes) ซึ่งมีอายุตั้งแต่ยี่สิบเอ็ดปีขึ้นไป เป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดสิทธิผู้ร้องที่จะได้รับการ
เคารพในชีวิตส่วนตัวของตน คณะกรรมาธิการได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อศาลแห่งยุโรปเพื่อพิจารณา ศาล
แห่งยุโรปมีค่าพิพากษา เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๑๙๘๑ ว่ากฎหมายนั้นเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง
ที่จะได้รับการเคารพในชีวิตส่วนตัวของเขาโดยมิชอบ เนื่องจากกฎหมายนั้นมิได้เป็นไปตามเงื่อนไข
ประการต่างๆ ตามที่ก่าหนดไว้ในวรรคสองของข้อ ๘ ของอนุสัญญาแห่งยุโรป ศาลเห็นว่าแม้การกระท่า
เช่นนั้นมีกฎหมายก่าหนดไว้ แต่มิใช่สิ่งจ่าเป็นในสังคมประชาธิปไตยต่อการคุ้มครองจิตใจ (la morale)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการแสดงออกซึ่งความเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ (une manifestation
๘๑ Arrêt X. et Y. c /Pays-Bas 26 mars 1985, Volume n° 91 de la série A des publications de la Cour.
๘๒
R. PELLOUX, Annuaire français de droit international, 1982, p. 504.