Page 80 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 80

๖๕


                   เสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่ส่าคัญของเอกชน  และก่าหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิส่วน

                   บุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ
                                       (๕) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.

                   ๒๕๕๑ (มาตรา ๔๐)
                                       มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรายการที่

                   ออกอากาศเป็นเท็จ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วน
                   บุคคล อาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการได้

                                       (๖) พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. ๒๕๔๕ (มาตรา ๒๐)
                                       มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดให้บริษัทข้อมูลเครดิตเปิดเผยหรือให้ข้อมูลแก่

                   สมาชิกหรือผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะใช้ข้อมูล  เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและการออกบัตร
                   เครดิต โดยในการเปิดเผยหรือให้ข้อมูลดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง
                   เว้นแต่เจ้าของข้อมูลได้ให้ความยินยอมไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่

                   คณะกรรมการก่าหนด

                                       (๗) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ (มาตรา ๒๗)
                                       ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด
                   ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง  โดยเจตนาที่จะท่าให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ  ชื่อเสียง

                   เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่าหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

                                       (๘) ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาทนายความ พ .ศ.   ๒๕๒๙
                   (ข้อ ๑๑)

                                       มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดห้ามมิให้ทนายความ เปิดเผยความลับของลูกความ
                   ที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอ่านาจศาล


                                 ๓.๑.๒ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ประกอบด้วย กฎหมายที่
                   เกี่ยวข้อง ดังนี้


                                       (๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒
                                           มีสาระส่าคัญเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต

                   และร่างกายของบุคคล ดังนี้
                                           (ก)   การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย

                   หรือไร้มนุษยธรรม จะกระท่ามิได้แต่การลงโทษตามค่าพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติ
                   ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม

                                           (ข)   การจับและการคุมขังบุคคล จะกระท่ามิได้ เว้นแต่มีค่าสั่งหรือ
                   หมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือการกระท่าใดอันกระทบต่อ

                   สิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระท่ามิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85