Page 81 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 81

๖๖


                                           (ค) ในกรณีที่มีการกระท่าซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง
                   ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับ

                   หรือเพิกถอนการกระท่าเช่นว่านั้น รวมทั้งจะก่าหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหาย
                   ที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

                                       (๒) ประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ (มาตรา ๒๗๖ -
                   ๒๘๗) และลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย (มาตรา ๒๘๘ – มาตรา ๓๐๘)

                                           มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดโทษแก่ผู้ที่ท่าอันตรายแก่ชีวิตและร่างกายของ
                   บุคคลอื่น


                                 ๓.๑.๓ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วยกฎหมาย

                   ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                                       (๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (มาตรา ๓๖)
                                        มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดรับรองและคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล

                   ในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคล

                   มีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระท่าด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคล
                   มีติดต่อถึงกัน จะกระท่ามิได้เว้นแต่โดยอาศัยอ่านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษา

                   ความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
                                       (๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ.


                   ๒๕๕๐ (มาตรา ๘ มาตรา ๑๖ )
                                       มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดโทษผู้กระท่าโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
                   เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล หรือกระท่าการใดๆ ให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายโดยระบบ

                   คอมพิวเตอร์


                                 ๓.๑.๔ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการอยู่หรือพักอาศัย ประกอบด้วย

                   กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                                       (๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๓

                                       มีสาระส่าคัญเป็นการรับรองและคุ้มครองเสรีภาพในเคหสถานโดยบุคคลย่อม
                   ได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดย

                   ปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระท่ามิได้ เว้นแต่

                   มีค่าสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                       (๒) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๘ ความผิดฐานบุกรุก (มาตรา ๓๖๒ - ๓๖๖)

                                       มีสาระส่าคัญเป็นการก่าหนดความผิดและโทษส่าหรับการบุกรุกอสังหาริมทรัพย์
                   หรือเคหสถานของผู้อื่น
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86