Page 82 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 82
๖๗
๓.๒ มาตรการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวตามกฎหมายไทย
๓.๒.๑ มาตรการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
(๑) มาตรการเชิงป้องกัน
- ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๒ ความผิดฐานเปิดเผยความลับ (มาตรา
๓๒๒ – มาตรา ๓๒๕) ก่าหนดความผิดและโทษส่าหรับผู้ที่เปิดเผยความลับของผู้อื่น
(๒) มาตรการเชิงเยียวยา
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๕ ละเมิด หมวด ๑
ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา ๔๒๐ ก่าหนดให้ผู้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ท่าต่อบุคคลอื่น
โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ
อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
- พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๐ ก่าหนดให้ด่าเนินการเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายเนื่องจาก
รายการที่ออกอากาศเป็นเท็จหรือละเมิดสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือ
ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลโดยเร็ว
๓.๒.๒ มาตรการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
(๑) มาตรการเชิงป้องกัน
- ประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ (มาตรา ๒๗๖ -
๒๘๗) และลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย (มาตรา ๒๘๘ – มาตรา ๓๐๘) ก่าหนดโทษ
แก่ผู้ที่ท่าอันตรายแก่ชีวิตและร่างกายของบุคคลอื่น
(๒) มาตรการเชิงเยียวยา
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๕ ละเมิด หมวด ๑
ความรับผิดเพื่อละเมิด มาตรา ๔๒๐ ก่าหนดให้ผู้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ท่าต่อบุคคลอื่น
โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือ
สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
๓.๒.๓ มาตรการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร
(๑) มาตรการเชิงป้องกัน
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท่าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(๒) มาตรการเชิงเยียวยา
- ไม่มี-